ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article

มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

มะลิ
พืชสมุนไพรไทย

น้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

"มะลิ" เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมสดชื่น  อยู่คู่คนไทยมาช้านาน  ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมหลายรูปแบบ  โดยเฉพาะในรูปแบบของงงานฝีมือประเภทประดิษฐ์ประดอย  เข่น  ทำเป็นพวงมาลัย  การตกแต่งพานพุ่ม  ตลอดไปจนถึงการใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ  ซึ่งให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานละมุนละไมอย่างลุ่มลึก

"มะลิ" มีกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนชื้น มีพบมากทั้งในแถบยุโรป เอเชีย และแถบแปซิฟิคในประเทศไทย ปลูกกันมานานแล้ว โดยปลูกกันอยู่ทั่วไป แถบจังหวัดภาคกลางเช่น กรุงเทพมหานคร นครปฐม

ลักษณะทั่วไปของ "มะลิ" มีลีกษณะทั้งเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ใบมีทั้งเป็นใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งเป็นแบบใบอยู่ตรงกันข้ามใบแบบสลับกัน ส่วนดอกมีทั้งที่เป็นดอกเดียวหรือเป็นดอกช่อ ดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่ง  ดอกสีขาว สีเหลือง บางทีก็มีดอกสีค่อนข้างแดง รูปร่างของดอกเป็นแบบแบนราบ ส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ หรือบางทีก็มี 4-10 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่ายแล้วจะร่วงในวันรุ่งขึ้น มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อน ฝน และจะน้อยที่สุดในฤดูหนาว

ชนิดและพันธุ์

มะลิทั่วโลก มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 200 ชนิด แต่ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ  45 ชนิด และในจำนวนนี้ เป็นไม้พื้นเมืองของไทย ประมาณ 15 ชนิด แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดคือ มะลิลา

สำหรับพันธุ์มะลิลาที่นิยมปลูกกันเป็นการค้ากันมากมี 3 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร  ส่วนความต้องการของตลาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และความนิยมของท้องถิ่น เช่น ถ้าต้องการมะลิลาดอกเล็ก ปลายเรียวแหลม เหมาะกับการนำมาร้อยมาลัย จะใช้พันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร แต่ถ้าต้องการมะลิลาดอกใหญ่ ปลายดอกบาน ก็ใช้พันธุ์แม่กลอง

  1. พันธุ์แม่กลอง เป็นพันธุ์ที่มีลีกษณะทรงต้นและต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาดกและทึบ เจริญเติบโตเร็ว ใบมีขนาดใหญ่และหนา ใบมีสีเขียวเกือบดำ รูปทรงใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่และกลม ลักษณะช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก พันธุ์แม่กลองจะให้ปริมาณดอกน้อยกว่าพันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร
  2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ลักษณะทรงพุ่มเล้กกว่าพันธุ์แม่กลอง แต่พุ่มค่อนข้างทึบ ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวไม่เข้ม รูปใบเรียว ช่วงข้อใบค่อนข้างถี่ ดอกมีขนาดเล็ก เรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก เป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดก โดยจะทยอยให้ดอกเรื่อย ๆ
  3. พันธุ์ชุมพร มีลักษณะทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดูโปร่งกว่าเล็กน้อย ใบมีลักษณะคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่เรียกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า มีช่วงข้อใบถี่ ลักษณะดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะคือมีขนาดเล็กเรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก เป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดกมาก แต่จะทิ้งระยะห่างเป็นช่วง ๆ

การขยายพันธุ์

มะลิลาขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การตอน การปักชำ การทาบกิ่ง และแยกกอ แต่วิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การปักชำ สำหรับขั้นตอนขยายพันธุ์มะลิด้วยการปักชำมีดังนี้คือ

  1. กิ่งที่ใช้ชำ ควรเป็นกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ  การตัดกิ่ง ควรจะตัดให้ชิดข้อ เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ โดยคัดใบเสียครึ่งหนึ่ง ถ้าต้องการเร่งการออกดอกควรใช้ฮอร์โมนชนิด ไอบีเอ และเอ็น เอ เอ ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4500 พีพีเอ็ม
  2. วัสดุที่ใช้ชำ ควรจะเป็นทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 อาจะบรรจุในตะกร้าพลาสติก แล้วปักชำเรียงเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 2 นิ้ว ระยะระหว่างกิ่ง  2 นิ้ว เช่นกัน หมั่นรักษาความชุ่มชื้นตลอดเวลา ถ้าให้ดีควรวางตะกร้าไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่รวบปากถุงให้สุงแล้วผูกยึดไว้กับท่อนไม้เล็ก ๆ ที่ปักไว้ หรือยึดปากถุงติดกับสิ่งอื่นก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้ปากถุงกดทับกิ่งที่สำคัญ
  3. ในการชำ วิธีนี้ควรนำกิ่งชำมะลิแช่ในยากันรา เช่น แคปแทนก่อนแล้วจึงนำไปชำ เพราะการชำแบบนี้ ทำให้เกิดโรคราได้ง่าย
  4. เมื่อปิดปากถุงแล้วต้องนำไปวางในที่ร่ม โดยปกติมะลิลาจะออกราก ภายใน 1 อาทิตย์ แต่ถ้าเป้นมะลิซ้อน จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
  5. สำหรับในกรณีที่ต้องการจะขยายพันธุ์ เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น อยู่ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะใช้ขนาด 1x1x0.8 เมตร วัสดุปักชำที่ใช้อาจจะใช้เพียงขี้เถ้าแกลบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ นิยมใช้ขี้เถ้าแกลบที่เก่า ๆ โดยใส่ขี้เถ้าแกลบในกระบะ ประมาณ 50 ซ.ม ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว ให้ชุ่ม ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 อาทิตย์ กิ่งมะลิจะออกราก เมื่อมะลิออกรากแล้วให้สังเกตดูความอุดมสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติก

แปลงการปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซนต์การออกรากก็สูง แต่ก็มีข้อควรระวังในการปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้ยาป้องกันเชื้อราราดหรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำ และในการเลือกกิ่งปักชำควรเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ และไม่มีโรคติดมาด้วย

วิธีการปลูก

การปลุกมะลินียมปลูกต้นฤดุฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพราะมะลิสามารถตั้งต้นได้ดีและเร็ว ปกติมะลิชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารพร้อมเพรียง

การปลูกที่เหมาะสมคือ ควรจะขุดหลุมลึก ตลอดจนความกว้างและความยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก  ใบไม้ผุ หรือปุ๋ยหมักหรือวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 1 กำมือ และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อีก 1 กำมือ คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วใส่กลับลงในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ได้จากการปักชำ เอาไปปลูก  แล้วควรจะปลูกมะลิให้ได้รับแสงแดดจัด เพราะจะทำให้ดอกไม่ดกเท่าที่ควร

......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

......................................................................................

การให้น้ำ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะลิ เนื่องจาก มะลิต้องการน้ำพอสมควร แต่จะไม่ชอบน้ำขัง เพราะจะทำให้โคนเน่าได้ง่ายและยังจะทำให้ต้นมะลิไม่สมบูรณ์ มีใบเหลือง ต้นแคระแกร็น และอาจตายได้ซึ่งอาจจะรดน้ำวันละครั้ง หรือสองวันครั้ง ถึงอาทิตย์ละครั้งก็ได้ โดยรดน้ำในตอนเช้า

การใส่ปุ๋ย
ปกติชาวสวนนิยมใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตราขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ให้ใส่เดือนละครั้ง ด้วยวิธีการหว่าน รอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตาม หากโตแล้วใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการโรยเป็นแนวยาวระหว่างแถว ในอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรงดน้ำจนดินแห้งเต็มที่ก่อน

โรคที่เกิดกับมะลิ

  1. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีขุยบนใบสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งขยายใหญ่ออกไป มีขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห้นได้ชัดเจน แผลที่ขยายกว้างออกไป มีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อของแผลแห้งกรอบตรงกลางแผลเวลาอากาศชื้นๆ จะพบสเปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลใหญ่ไม่มีขอบเขตจำกัดจนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลม หรือถูกฝนชะล้าง การป้องกัน และกำจัด ทำได้โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราฉีดพ่น สารเคมีที่ใช้ได้ผล ได้แก่ ไดเทนเอ็ม 45, ดาโนนิล เป็นต้น
  2. โรครากเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii จัดว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง มักจะพบมากในสวนที่ปลูกมะลิมานานกว่า 1 ปีแล้ว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่พบจะเห็นว่าต้นมะลิเหลือง เหี่ยว และทิ้งใบ เมื่อขุดจะปรากฎว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นมีเส้นใยราสีขาว
  3. การป้องกันและกำจัด ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย ดินในหลุมที่เป็นโรคควรจะขุดไปเผาด้วย แล้วใช้ปูนขาวหรือน้ำยาเทอราคลอผสมน้ำราดลงไปในดิน แต่ถ้ามีโรคระบาดไปทั่วสวน ก็ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นสัก 4-5 ปี หรือถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิมควรจะปรับดินเสียใหม่ ด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
  4. โรครากปม (Root knot) เกิดจากใส้เดือนฝอย ต้นที่เป้นโรคนี้จะแสดงอาการเด่นชัดทางใบคือ ใบจะมีสีเหลืองต่าง ๆ ทั่วไปทั้งใบ คล้ายกับการขาดอาหาร แต่เมื่อถอนต้นดุจะพบว่ารากมีปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมเนื้อออกดุจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่นั่นคือ ถุงไส้เดือนฝอย เป็นสาเหตุทำให้การลำเลียงน้ำแร่ธาตุขาดตอน ป้องกันได้โดยการปลูกมะลิสลับกับพืชอื่น ๆ และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยได้ผลคุ้มค่า แต่กินเวลานานพอสมควร

แมลงศัตรูของมะลิ

  1. หนอนเจาะกินดอก ตัวเล็ก ลำตัวสีเขียว ปากหรือหัวดำ จะมีระบาดมากในฤดูฝน และทำให้ดอกเสียหาย โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นแผล เป็นรู จะพบการทำลายมากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเสียหายมาก การป้องกันและกำจัด อาจทำได้โดยใช้ยา เช่น Azcord 25% EC อัตรา 40 cc หรือต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3 วันครั้ง ในระยะการระบาดรุนแรงและเว้นช่วงระยะพ่น 5-7 วันครั้ง ถ้ามีการทำลายไม่มากนัก
  2. หนอนกินใบ หนอนตัวนี้มักระบาดมากในฤดูฝนเช่นกัน โดยจะพับใบมะลิเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น โดยมันจะกัดกินทำลายใบไม้ไปด้วย
  3. การป้องกันและกำจัด อาจจะเก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายหรืออาจให้สารเคมีประเภทโมโนโครโดฟอส (อโซดริน  60% ดับเบิ้ลยู เอส ซี) อัตรา 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉัดพ่น ทุก 4-6 วันครั้ง เมื่อมีการระบาด
  4. หนอนเจาะลำต้น หนอนตัวนี จะเจาะต้นตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลือง และหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจาการกัดกินของตัวหนอนกองอยู่เห็นได้ชัดเจน ต้องรีบป้องกันกำจัดทันทีที่เห็น โดยถอนต้นและทำลายตัวหนอนทิ้งทันที

นอกจากแมลงดังกล่วแล้ว ยังมีแมลงจำพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูของมะลิด้วย โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ใบและดอกแคระแกรน หงิก เสียรูปร่างไป ป้องกันและกำจัดแมลงได้โดยใช้ยา เช่น มาลาไธออน มาดูวิน และฟอส เป็นต้น

การเก็บเกี่ยว  และการตลาด

การเก็บเกี่ยวดอกมะลิ ควรเก็บขณะเฉพาะดอกตูม พร้อมจะบานมีความเจริญเต็มที่ ซึ่งมีลักษณะสีขาวนวล ไม่ควรตัดทั้งช่อ เพราะลักษณะดอกมะลิเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วดอกตูมเกินไปจะไม่สามารถบานต่อได้ หรือบานได้แต่ไม่มีคุณภาพ กลิ่นไม่หอม

ส่วนวิธีการเก็บ ใช้มือเด็ดตรงก้านดอก ใต้กลีบเลี้ยง ชาวสวนมะลิในกรุงเทพมหานครมักเก็บประมาณ ตี 03.00 น.-04.00 น. เพื่อจะได้ทันส่งตลาดในเช้าตรู่ ซึ่งมักได้ราคาดีมาก

สำหรับราคาดอกมะลิ จะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพการใช้งานในท้องถิ่น ฤดูฝนและร้อนราคาดอกมะลิะตกต่ำ แต่ในฤดูหนาวราคาดอกมะลิจะสูงเพราะผลผลิตจะตกต่ำ

  • สำหรับปริมาณการผลิตโดยทั่วไป มะลิลาอายุ 1 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาร 1,000-2,000 ลิตร/ไร่
  • มะลิลา อายุ 2 ปี  ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 ลิตร/ไร่
  • มะลิลา อายุ 3 ปีขึ้นไป ปกติผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 ลิตร/ไร่ และผลผลิตเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อไป

"มะลิ" เป็นพืชที่ให้น้ำหอมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในระดับสากล นอกจากจะมีความต้องการนำไปใช้เพื่อประโยชนืต่าง ๆ ที่มีกันอยู่กันโดยทั้วไปของสังคมไทยแล้ว ยังสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตเป็น "น้ำมันหอมระเหยจัสมิน (Jasmine)" เพื่อใช้ใน "การบำบัดอโรมาเทอราปี" และการส่งออกไปต่างประเทศได้อีกด้วย

เรียบเรียงบทความ "มะลิ พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

 

มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยมะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

 


 

 

Custom Search

 

 




มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ <ดูทั้งหมด>

พลังแห่งกลิ่นหอม "กำยาน" ความหอมอมตะ article
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
พันธุ์ไม้สร้างและสะสมน้ำมันหอมระเหยของไทย article
พลังแห่งกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต article
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
ตะไคร์หอม พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน