ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) article

วิธีการเลือกแฟรนไชส์
(Franchise)

สำหรับท่านที่เป็นแฟรนไชซอร์ (Franchisor) หัวข้อนี้ก็คงมีประโยชน์สำหรับท่านเช่นกัน หากท่านได้พิเคราะห์พิจารณาดูและปรับปรุงให้มีลักษณะดังกล่าวมากขึ้นเท่าใด ท่านก็จะกลายเป็นแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่แฟรนไชซี (Franchisee) กำลังมองหามากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการหาแฟรนไชซี (Franchisee) ของท่านอีกทางหนึ่งด้วยนั่นเอง

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

1. สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นต่างกับผู้อื่น
ลักษณะข้อแรกนี้ถือว่าเป็นตัวที่สำคัญที่สุดและสอดคล้องกับที่กล่าวมาแล้วในการมองหาธุรกิจที่มีอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะการที่มีจุดที่แตกต่างจากผู้อื่น ย่อมทำให้กลายเป็นจุดเด่นและมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นที่แตกต่างนั้นต้องเป็นที่ต้องการของสังคมด้วย การเป็นที่ต้องการของสังคมนี้ บางท่านอาจคิดว่า ในสังคมมีความต้องการหลายอย่างและธุรกิจแต่ละอย่างก็ล้วนแต่มีจุดเด่นที่ต่างกัน หากเป็นเช่นนี้สิ่งที่ท่านต้องพิจารณาก็คือ จุดเด่นที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หากท่านเลือกจะทำธุรกิจอาหารประเภทพิซซ่า ซึ่งมีแฟรนไชส์ (Franchise) ตัวที่มีจุดเด่นต่างกัน คือ อันหนึ่งมีจุดเด่นในการบริการที่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าในการส่งอาหารได้ถึงที่บ้าน ขณะที่อีกตัวหนึ่งมีจุดเด่นที่ดีในเรื่องของรสชาติ

สิ่งที่ท่านต้องใช้พิจารณาในการตัดสินใจก็คือ สภาพตลาดหรือสังคมที่ท่านจะประกอบธุรกิจนั้น เช่น หากท่านจะดำเนินธุรกิจในกรุงเทพฯ ซึ่งมีการจราจรติดขัด ค่าเช่าสถานที่ประกอบการก็แพง ความสะดวกที่จะมารับประทานพิซซ่าที่ร้านในทำเลที่ท่านจะทำก็น้อย ท่านไม่มีทำเลที่จะอยู่บนห้างสรรพสินค้าที่เป็นแหล่งรวม หรือหากจะอยู่ก็แพง อาจเสี่ยงต่อการขาดทุนได้โดยง่าย หากแฟรนไชส์พิซซ่าที่มีจุดเด่นด้านการบริการ ไม่ได้มีปัญหาด้านรสชาติมากนัก เพียงแต่ด้อยกว่าเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ถึงกับรสชาติไม่ดี ดังนั้นสภาพตลาดที่ท่านจะทำและจุดเด่นที่จะเป็นที่ต้องการของตลาดนั้นมากกว่าก็คือ การบริการส่งอาหารได้ถึงที่ (Delivery Service) แต่หากสภาพตลาดของท่านเป็นต่างจังหวัด ซึ่งการจราจรหรือชีวิตของคนยังไม่ค่อยเร่งรัดเช่นคนกรุงเทพฯ และการมาทานอาหารที่ร้านอาหารฝรั่งแบบพิซซ่า เป็นความรู้สึกที่โก้หรูอย่างหนึ่งที่ลูกค้าจะได้รับ ค่าเช่าสถานที่ตามต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ก็ต่ำกว่า จุดเด่นของแฟรนไชส์ที่ท่านควรจะเลือกก็คงเป็นด้านรสชาติ เพราะเมื่อลูกค้าจะมาทานที่ร้านและติดใจ ในรสชาติก็จะทำให้เขาอยากมามากขึ้นเมื่อมีโอกาส อย่างไรก็ตามการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจสุดท้ายก็คงต้องประกอบด้วยลักษณะข้ออื่นๆ ของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ด้วย เพื่อดูผลรวมของข้อดีกับข้อเสียลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเปรียบเทียบเพียงจุดเดียว แต่หากท่านทราบว่า จุดดีและเสียอื่นๆ ไม่ต่างกันมากนัก เมื่อต้องตัดสินใจโดยพิจารณาจากจุดเด่นแล้ว ท่านก็สามารถจะตัดสินใจได้ตามตัวอย่างข้างต้น ทั้งนี้ก็ต้องกล่าวว่า โดยปกติแล้วเรื่องของจุดเด่นของสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้ ในการพิจารณาตัดสินใจ

2. มีความรู้ หรือ Know-How ที่เป็นระบบ
ลักษณะที่ดีของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ข้อนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อแรก ถ้าจะเปรียบอาจจะกล่าวได้ว่า จุดเด่นของสินค้าหรือบริการก็เป็นเสมือนวัตถุดิบในการผลิตความสำเร็จของธุรกิจและความรู้ที่เป็นระบบนี้ก็คือ เครื่องจักรที่จะผลิตความสำเร็จของธุรกิจนั้นออกมา โดยอาศัยวัตถุดิบที่เป็นจุดเด่นนั่นเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะการผลิตใดๆ ที่มีวัตถุดิบที่ดี แต่มีกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรที่ล้าหลังไม่เป็นระบบ ตัวสินค้าสำเร็จรูปที่จะออกมาจาก การผลิตนั้นก็คงไม่สามารถให้คุณภาพได้ดีถึง 100% ดังนั้น จุดเด่นของสินค้าหรือบริการในธุรกิจใดที่ประกอบด้วย ระบบในการจัดการธุรกิจนั้นไม่ดีพอ สินค้าสำเร็จรูปที่ต้องการก็คือ “ผลกำไรทางธุรกิจ” ก็คงเกิดขึ้นได้ยาก ดังตัวอย่างเช่น ถึงแม้ท่านจะมีเนื้อหรือขนมปัง รวมถึงตัวประกอบอื่นๆ ในการทำแฮมเบอร์เกอร์ดีเพียงใด แต่หากไม่มีระบบการจัดการ วิธีการปรุงหรือทำแฮมเบอร์เกอร์ที่ดีพอ ยังคงต้องอาศัยความสามารถของคนปรุงที่แต่ละคนแตกต่างกัน ในการสังเกตว่าเนื้อหรือขนมปังที่ปรุงนั้นได้ที่หรือยัง กุ๊กบางคนก็จะทำเนื้อสุกเกินไป บางคนทำดิบเกินไป บางคนก็อาจทำขนมปังไหม้เกินไป ท่านเชื่อไหมว่า แฮมเบอร์เกอร์ที่ได้ซึ่งมีคุณภาพหรือรสชาติที่ต่างกัน จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการขาย ต่างกับแฟรนไชส์อย่างแมคโดนัลด์ที่ใช้อุปกรณ์และระบบการควบคุม ทั้งความร้อน อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการทำอาหารแต่ละชนิด ซึ่งท่านที่เคยเข้าร้านแมคโดนัลด์ คงเคยได้ยินเสียง ปี๊บๆ จากเครื่องปรุงที่คอยเตือนผู้ประกอบอาหารได้ทราบว่าอาหารสุกได้ที่ และสามารถหยิบขึ้นจากเตาได้ เป็นต้น ด้วยระบบดังกล่าวแม้แต่คนที่ตาบอดก็ยังสามารถบอกได้ว่าอาหารสุกแล้ว ท่านคิดว่าระบบแบบนี้จะทำให้ท่านที่ประกอบธุรกิจ สามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าไหม แม้ว่าคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้อาจจะไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ยกให้เห็นข้างต้นคงไม่สามารถที่จะใช้กับธุรกิจทุกชนิดได้ ทั้งนี้ก็เพราะธุรกิจแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน แต่หลักการที่ท่านยังคงสามารถใช้ได้ก็คือ การพิจารณาดูว่า ความรู้ หรือ Know–How ที่แฟรนไชซอร์ (Franchisor) มีนั้น ได้ถูกจัดมาให้เป็นระบบเพื่อการปฏิบัติงานที่ง่ายขึ้น หรือง่ายกว่าแฟรนไชส์ (Franchise) อื่นที่เปรียบเทียบหรือไม่ หาก ใช่ ท่านก็คงจะทราบได้ว่าท่านควรจะเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ใด

3. มีตัวอย่างความสำเร็จแสดงให้เห็น
ลักษณะที่ดีข้อนี้ก็เป็นข้อที่ต่อเนื่องมาจากข้อที่แล้ว ในเรื่องของความรู้ หรือ Know–How ที่เป็นระบบ ซึ่งได้เคยกล่าวย้ำมาแล้วหลายต่อหลายครั้งว่า "ความรู้ความสามารถหรือระบบที่บอกว่าดี จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ หรือกล่าวคือ ต้องมีตัวอย่างความสำเร็จแสดงให้เห็นได้โดยแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โครงการในแผ่นกระดาษหรืออธิบายด้วยแค่คำพูดของเจ้าของกิจการ ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่ท่านในฐานะแฟรนไชซี (Franchisee) กำลังมองหา ก็คือความสำเร็จ ไม่ใช่ไอเดียดีๆ หรือสิ่งที่ดูดีแต่รอการพิสูจน์” ดังนั้นความสำเร็จที่ท่านต้องการ จึงต้องประกอบไปด้วยความสำเร็จของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่ปฏิบัติมาแล้ว ซึ่งหมายถึงความมั่นใจ และเวลาของท่านที่จะประหยัดโดยท่านไม่ต้องทำการลองผิดลองถูกด้วยตัวท่านเองและเป็นมูลค่าที่ท่านจะต้องจ่ายคือ ค่าสิทธิที่ให้กับแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ลองคิดดูว่า ที่ท่านต้องจ่ายคือเงินและชีวิตในการดำเนินธุรกิจซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ เหมือนเพชรที่ท่านกำลังจะซื้อ ท่านจะยินดีจ่ายเงินซื้อเพชรที่รอการพิสูจน์ว่าเป็นเพชรเลี้ยงหรือเพชรท้า ซึ่งตัวท่านก็ดูไม่ออก เพราะท่านไม่มีความรู้ในการดูเพชร เช่นเดียวกับที่ท่านไม่มีความรู้ในการประกอบธุรกิจนั้น หรือท่านจะซื้อเพชรที่มีเครื่องหมายการรับประกันว่าเป็นเพชรแท้ เหมือนกับตัวอย่างของความสำเร็จที่แฟรนไชซอร์ (Franchisor) ได้ปฏิบัติมาแล้ว อันที่จริงแล้วยิ่งตัวอย่างความสำเร็จของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่มีให้ท่านเห็นมากเท่าไร ก็หมายถึงความมั่นใจของท่านที่มีมากขึ้นและเป็นมูลค่าที่ท่านต้องจ่ายมากขึ้นด้วยในเรื่องของการลงทุน

ซึ่งท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าแฟรนไชส์ (Franchise) ใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จมากๆ จึงมักมีราคาค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จที่ต้องมีตัวอย่างแสดงให้เห็นนี้คือ การลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด จำไว้เสมอว่า ความเสี่ยงที่ไม่ควรเสี่ยงก็คือ ความสำเร็จที่ไม่มีตัวอย่างให้ท่านเห็น ทั้งนี้ก็เพราะธุรกิจไม่ใช่เพียงแค่ เงินบาทที่ท่านต้องจ่าย แต่เป็นเวลาที่ท่านต้องเสียไปกับการพิสูจน์ซึ่งเรียกคืนไม่ได้อีกเลย

4. มีประสบการณ์ในธุรกิจนานพอ
ลักษณะข้อนี้เป็นอีกข้อหนึ่งที่จะทำให้ท่านในฐานะแฟรนไชซี (Franchisee) มีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่ท่านเลือกมีประสบการณ์ในธุรกิจที่นานพอ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ก็เพราะประสบการณ์ที่นานพอเป็นสิ่งที่บอกท่านได้ว่า แฟรนไขซอร์ (Franchisor) ได้เผชิญทั้งข้อดีและข้อเสียของการให้ระบบหรือจุดต่างๆ ที่เขามีและได้ทำการปรับปรุงจนประสบความสำเร็จมาแล้ว หากระยะเวลาที่ยังไม่นานพอก็เป็นไปได้ว่าสิ่งที่เขาทำหรือใช้นั้น ข้อเสียอาจจะยังไม่ปรากฎหรือเขาเองก็อาจจะยังเรียนรู้ไม่ได้ทั้งหมดว่าธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ดังสุภาษิตที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” ฉันใดก็ฉันนั้น ธุรกิจบางอย่างที่อาจประสบความสำเร็จในช่วงแรก อาจไม่ได้หมายความถึงความสำเร็จในระยะยาว แล้วที่ท่านในฐานะแฟรนไชซี (Franchisee) ต้องการคือธุรกิจระยะยาวหรือระยะสั้น หลายท่านคงเห็นด้วยถึงลักษณะข้อนี้ของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ว่า ระยะเวลาของประสบการณ์สามารถช่วยเราในการพิสูจน์ความรู้ ความสามารถหรือจุดเด่นต่างๆ ที่แฟรนไชซอร์ (Franchisor) มี ว่าจะมีอยู่และรองรับกับปัญหาต่างๆ ได้นานหรือมากขนาดไหน ด้วยระยะเวลาและประสบการณ์ของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ในธุรกิจที่นานพอ หากท่านได้พิจารณาการใช้อย่างถูกต้อง เชื่อว่าท่านจะลดความเสี่ยงในการลงทุนไปได้มาก อันเป็นผลทำให้ท่านมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ดีกว่า

5. มีชื่อเสียงดี
ชื่อเสียงที่ดีของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ถือได้ว่าเป็นลักษณะที่ดีและสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่แฟรนไชซี (Franchisee) สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ทั้งนี้เพราะชื่อเสียงที่ดีของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) หมายถึงความนิยมชมชอบของผู้บริโภคต่อธุรกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า ระบบและรูปแบบการให้บริการ รวมถึงความสามารถของบุคลากร ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าชื่อเสียงที่ดีของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) จึงเป็นสัญลักษณ์ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การพิจารณาตัวของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) จำเป็นต้องดูระบบที่พิสูจน์ได้ โดยมีตัวอย่างแสดงให้เห็นดังนั้น แฟรนไชซอร์ (Franchisor) ใดที่มีชื่อเสียงในสายตาของผู้บริโภคด้วยแล้ว ย่อมหมายถึงตัวอย่างของความสำเร็จที่เหนือกว่าตัวอย่างอื่นใดที่กล่าวเช่นนั้น เพราะผู้บริโภคเปรียบเสมือนกรรมการตัดสินที่ดีที่สุดสำหรับท่าน ในการพิจารณาดูว่าแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ไหนจะดีกว่ากัน ดังนั้นการดำเนินธุรกิจของท่านด้วยแฟรนไชส์ (Franchise) ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ย่อมหมายถึงความต้องการและความยอมรับที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้ว ทำให้ท่านในฐานะแฟรนไชซี (Franchisee) สามารถหาลูกค้าได้ง่ายขึ้น เป็นที่ยอมรับได้ง่ายขึ้นเมื่อดำเนินธุรกิจนั้น ซึ่งหมายถึงความสำเร็จที่ง่ายขึ้นด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพราะผลพวงจากชื่อเสียงของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่สร้างมา เพราะผลพวงของชื่อเสียงดังกล่าวที่ส่งผลดีได้โดยตรงกับการดำเนินธุรกิจแฟรนไชซี (Franchisee) ทำให้ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชซี (Franchisee) จะต้องจ่ายแก่แฟรนไชซอร์ (Franchisor) จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อชื่อเสียงของระบบมีมากขึ้น แต่หากพิจารณาจากค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับ ผลสำเร็จที่แฟรนไชซี (Franchisee) จะได้จากชื่อเสียงที่ดีนั้นก็เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากกว่า ทั้งนี้ก็เพราการลงทุนในการสร้างชื่อเสียง เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทองและในฐานะของแฟรนไชซี (Franchisee) หากเลือกประกอบการอย่างอิสระนอกระบบแฟรนไชส์ (Franchise) แล้ว การสร้างชื่อเสียงด้วยสาขาของตนเพียงแห่งเดียว คงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับชื่อเสียงของธุรกิจในระบบ
แฟรนไชส์ (Franchise)

6. ธุรกิจมีการเติบโต
ลักษณะข้อนี้เป็นลักษณะที่เคยกล่าวไว้ในเรื่องการมองธุรกิจที่มีอาณาคตว่า ธุรกิจที่มีอนาคตคือ ธุรกิจที่กำลังเติบโต ดังนั้นการเลือกแฟรนไชซอร์ที่มีธุรกิจที่กำลังเติบโตก็เท่ากับเลือกแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่มีอนาคตนั่นเอง ในเรื่องของธุรกิจที่มีการเติบโต โดยเฉพาะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็ต้องขอย้ำไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งว่าการเติบโตของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) มิได้หมายถึงการเติบโตของจำนวนสาขา หากแต่เป็นการเติบโตของปริมาณความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด กล่าวคือแฟรนไชส์ (Franchise) ใดก็ตามหากมีปริมาณลูกค้าและความต้องการ หรือชื่อเสียง ความนิยมชมชอบของผู้บริโภคที่มากกว่า ซึ่งอาจดูได้โดยง่ายจากยอดขายที่ทำได้ ถึงแม้จะมีจำนวนสาขาที่น้อยกว่าแฟรนไชส์ (Franchise) อื่นอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็หมายความถึงอนาคตที่ดีกว่าของแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น ด้วยเหตุนี้การดูลักษณะของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่ดีในเรื่องการเติบโตของธุรกิจ จึงมิใช่การดูที่จำนวนสาขาอย่างที่หลายต่อหลายคนเคยเข้าใจผิด และใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาเลือกแฟรนไชซอร์ (Franchisor) แต่การพิจารณาจำนวนสาขา จำเป็นต้องควบคู่ไปกับปริมาณความต้องการของตลาดที่เป็นลูกค้าด้วย ยิ่งตลาดมีความต้องการมาก การเปิดสาขาที่มากขึ้นก็ทำได้โดยง่าย ตรงกันข้ามหากตลาดมีความต้องการที่ไม่มากพอ แม้จะมีสาขามากในช่วงแรก แต่ก็จะลดลงได้ในเวลาต่อมานั่นเอง

7. มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
เพราะธุรกิจในโลกที่มีการเคลื่อนไหวไม่เคยหยุดนิ่ง ความต้องการของผู้บริโภคก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งการแข่งขันที่นับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ความจำเป็นในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ทั้งที่เป็นแฟรนไชส์ (Franchise) และนอกระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ก็ล้วนแต่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบ สินค้า การบริการ รวมถึงรูปแบบต่างๆ ให้ดีขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ ดังตัวอย่างของแฟรนไชส์ (Franchise) ใหญ่ๆ อย่างแมคโดนัลด์ ที่คอยพัฒนาปรับปรุง ออกสินค้าใหม่ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นแฮมเบอร์เกอร์หรือพายสอดไส้ผลไม้ชนิดต่างๆ การจัดกิจกรรมรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้เด็กๆ ที่เป็นลูกค้ารู้สึกสนุกสนาน และอยากที่จะมาบ่อยๆ รวมถึงการตกต่างร้านใหม่ ให้มีความสดใส ทันสมัย เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้บริโภคอยู่เสมอๆ หรือแม้แต่ตัวอย่างของร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น ที่คอยศึกษาพิจารณาดูรายการสินค้าต่างๆ ในร้านอยู่เสมอว่า ชนิดไหนขายดี ชนิดไหนขายไม่ดี และมีสินค้าใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนหรือเสริมเพื่อสร้างรายได้ในร้านให้มากขึ้นได้ไหม การจัดบริการรูปแบบของเคานเตอร์เซอร์วิส ที่ทางเซเว่นอีเลฟเว่นกำลังดำเนินงาน ก็เป็นการช่วยเพิ่มการบริการให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการได้มากขึ้น การพัฒนาปรับปรุงเป็นเรื่องของอนาคตซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการพิจารณาว่าแฟรนไชวอร์ (Franchisor) ใดมีลักษณะข้อดีนี้หรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่อาจจะสังเกตได้ยาก หากใช้ปัจจุบันเป็นเกณฑ์ แต่วิธีการที่ท่านในฐานะแฟรนไชส์ (Franchise) ที่จะทำได้ก็คือ การดูจากประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า แฟรนไชซอร์ (Franchisor) มีการปรับปรุ่งสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่ เช่น มีสินค้าใหม่ออกมาไหม มีการพัฒนาระบบให้ทันสมัยขึ้นหรือไม่ หรือได้แต่อยู่กับที่ ไม่มีการพัฒนา

จากลักษณะที่ดีของแฟรนไชซอร์ทั้ง 7 ข้อที่ผ่านมา คงจะช่วยให้ท่านเข้าใจลักษณะของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่ท่านกำลังมองหาได้ง่ายขึ้น แน่นอนที่ว่าท่านอาจไม่สามารถหาแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่มีลักษณะดีต่างๆ ได้ตามดังที่ต้องการ แต่สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ การมองหาผู้ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้ท่านตัดสินใจได้ในท้ายที่สุดว่า ที่ดีที่สุดที่มีนั้น ดีพอกับการตัดสินใจของท่านหรือยัง

เรียบเรียงบทความ
"วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise)"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ

วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีอนาคตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ

 

                     




บทความ-ความรู้พื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ <ดูทั้งหมด>

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ คิดก่อนลงทุน? article
แฟรนไชส์เสริมความงาม สปา สุขภาพ ธุรกิจน่าลงทุน article
แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? ศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้ article
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article
มุมมองการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน article
เกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ (Franchise) แห่งชาติ article
วิธีการสร้างและบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ 1 article
วิธีสร้าง-บริหารระบบแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ2 article
ใครคือนักลงทุน.. แฟรนไชส์ (Franchise)! article
ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ? article
วิธีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise) ทำอย่างไร? article
กลยุทธ์การเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่? article
แฟรนไชส์ (Franchise) ธุรกิจสำเร็จรูปหรือสูตรสำเร็จ? article
คุณสมบัติของธุรกิจที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน