ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ? article

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์
(Franchise)
ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ในช่วงชีวิตหนึ่ง หลายคนอาจมีความฝันที่จะได้เป็นเจ้าของกิจการใดกิจการหนึ่ง หลายคนยอมทนทำงานเป็นลูกจ้าง เพื่อสะสมเงินทุนและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ โดยมีความหวังว่า สักวันหนึ่งจะต้องได้เป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) กับเขาเข้าสักวัน

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

ในการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ อาจแบ่งออกได้เป็น 4 วิธี คือ

1. การดำเนินธุรกิจเดิมของครอบครัว
2. การก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง
3. การซื้อธุรกิจต่อจากผู้ประกอบการหรือนักลงทุนรายอื่นที่ดำเนินการมาก่อนหน้า
4. การขอรับสิทธิทางการค้า จากเจ้าของสิทธิทางการค้าเดิม เรียกว่า
ระบบแฟรนไชส์ (Franchise)

และสิ่งที่จะกล่าวถึงในข้อเขียนนี้คือ การเริ่มต้นธุรกิจด้วยวิธีที่ 4 คือ ระบบแฟรนไชส์ ซึ่งหลายคนกล่าวว่า ระบบแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นเส้นทางลัดสู่ความสำเร็จ ข้อเขียนในวันนี้ จึงอยากกล่าวถึงบางแง่มุมเพื่อสะท้อนผลด้านบวกและลบ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchise) ได้รับความพึงพอใจร่วมกัน

แฟรนไชส์ (Franchise) มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ “Franchir” ซึ่งแปลได้ว่า “สิทธิพิเศษ” โดยระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ได้ถือกำเนิดครั้งแรกในศตวรรษที่ 18 ในประเทศอังกฤษ โดยการให้สัมปทานของกษัตริย์หรือผู้ปกครองท้องถิ่น ที่ให้สิทธิ์แก่บุคคลซึ่งมักเป็นพวกขุนนางหรือพระชั้นผู้ใหญ่ ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การบริการขนส่งจัดเรือข้ามฟาก จัดการตลาดสินค้าหรือการทำธุรกิจบางอย่าง และต้องจ่ายค่าสัมปทานนั้น ๆ หรือทำงานให้แก่กษัตริย์เพื่อตอบแทนการให้สิทธิเช่นนั้น

วิธีการดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความนิยมอย่างแพร่หลาย ถึงกับมีคำกล่าวว่าสินค้าและบริการเกือบทุกชนิดมีการขายผ่านระบบแฟรนไชส์ (Franchise) โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ทั้งนี้ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) จะมีผู้เกี่ยวข้องหลักในธุรกิจ 2 ฝ่าย คือ ผู้ให้สิทธิ์ (Franchisor) ซึ่งเป็นผู้มอบสิทธิทางการค้าให้แก่ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) ในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องหมายทางการค้าและสัญลักษณ์ของตน ซึ่งผู้ให้สิทธิ์จะได้รับค่าตอบแทนการใช้สิทธิทางการค้า ตลอดจนการช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่ผู้ให้สิทธิ์กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำเลที่ตั้ง การอบรมวิธีการปฏิบัติงาน การสร้างระบบการเงิน การแนะนำต่าง ๆ ตลอดจนการช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ

การจำแนกประเภทของแฟรนไชส์ (Franchise) ตามความเห็นของ The US Department of Commerce สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ แบบดั้งเดิม (แฟรนไชส์สินค้าและชื่อทางการค้า) และแบบแฟรนไชส์ (Franchise) รูปแบบทางธุรกิจ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาในระยะหลัง ซึ่งผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchise) จะได้รับค่าธรรมเนียมตอบแทนและค่ารอยัลตี้ จากผู้รับแฟรนไชส์ (Franchise) โดยรายได้ส่วนใหญ่ของผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchise) มักจะเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือวัตถุดิบในการดำเนินธุรกิจของบรรดาลูกทีมผู้รับแฟรนไชส์ (Franchise) ทั้งหลาย (Lafontaine and Shaw, 1998)

จากผลการวิจัยของ Yoo (1998) ได้ระบุว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยระบบแฟรนไชส์ (Franchise) จะให้ผลการดำเนินงานสูงกว่าวิธีการดำเนินงานแบบเดิมที่ไม่มีระบบแฟรนไชส์ (Franchise) และ Kaufmann and Dant (1998) กล่าวว่า ระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ได้แสดงความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งลักษณะที่พบจะเกิดขึ้นทั้งในธุรกิจบริการและธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบการดำเนินงานง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ไปจนถึงธุรกิจที่มีรูปแบบซับซ้อน

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา รวมทั้งในประเทศไทยด้วย มีธุรกิจที่ดำเนินงานโดยวิธีขยายแฟรนไชส์ (Franchise) อยู่ในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก เช่น ร้านวีมาร์ท เซเว่นอีเลเว่น ร้าน 108 shops หรือในธุรกิจอาหาร เช่น แมคโดนัลด์ พิทซ่าฮัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว หรือแม้แต่ธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจสปา บริการซัก อบ รีด บริการเสริมความงาม เป็นต้น

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

 ►ข้อขัดแย้งในระบบแฟรนไชส์ (Franchise)
ที่พึงพิจารณา

ระบบแฟรนไชส์ (Franchise) แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการสร้างความสำเร็จต่อการดำเนินธุรกิจ แต่เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะดำเนินการในรูปแบบใดก็ตาม ต่างมีเป้าหมายเพื่อผลกำไรสูงสุดของตนเอง ทั้งนี้ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ล้วนต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดจากการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) พร้อมการคาดหวังต่อเครื่องหมายการค้าและการให้บริการของผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ขณะเดียวกันผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เอง ก็ต้องพยายามรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) โดยการปรับปรุงระบบการสนับสนุนการดำเนินงานและการให้บริการ การสร้างการยอมรับในชื่อเสียงของกิจการ โดยอาจใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ และการร่วมพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) เพื่อความอยู่รอดของผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee)

จากผลการศึกษาเมื่อปี 2001 ของ Henry Kwong-yin Fock แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้พบว่า การที่ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ช่วยเหลือให้ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) สามารถขยายสาขาการดำเนินงานได้มากเพียงใด ย่อมส่งผลดีต่อผลกำไรที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนสาขาที่ขยายได้ ขณะเดียวกัน ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เอง ก็จะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย ซึ่งผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) มักต้องการขยายจำนวนผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ให้มากที่สุด ขณะที่ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) จะไม่ต้องการแข่งขันกับผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) รายอื่นที่เปิดดำเนินการในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นปัญหาใหญ่ในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) และจากการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย Hing (1996) ได้ศึกษาจำนวนผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่เป็นหน่วยธุรกิจต่าง ๆ จำนวน 127 แห่ง ได้ผลตรงกันว่า จำนวนของการเปิดช่องทางการกระจายสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อในร้านแฟรนไชส์ (Franchise) จากเครื่องหมายการค้าเดียวกัน ขณะที่ผลการวิจัยอื่น โดย Schneider (1998) ได้สำรวจข้อมูลจากผู้รับแฟรนไชส์ 174 รายในสหรัฐอเมริกา ก็ได้สรุปความเห็นของผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ไว้ว่า ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เป็นผู้ทำให้เกิดปัญหาจากการขยายช่องทางการจำหน่ายในย่านเดียวกันของผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) รายใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้กันเกินไป

►แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของแฟรนไชส์ (Franchise) ใหม่ ๆ

จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว การลดผลกระทบที่ตรงข้ามกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณาร่วมกัน โดยการสร้างความสมดุลในผลประโยชน์ระหว่างผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) กับผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ควบคู่กับการพัฒนาความสามารถในการดำเนินงานอื่นให้คงอยู่ของระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ทั้งนี้วิธีการตัดสินใจขยายแฟรนไชส์ (Franchise) อาจพิจารณาได้ 3 แนวทาง คือ

  1. ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ควรเป็นผู้พิจารณาในการขยายเครือข่าย (Centralized planning Mode)
  2. ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เปิดโอกาสให้ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) แต่ละรายเลือกทำเลที่ตั้งร้านเองอย่างอิสระ (Decentralized planning Mode) โดยอยู่ภายใต้การดูแลและการยอมรับของผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor)
  3. ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) และผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ร่วมกันพิจารณาการขยายแฟรนไชส์ (Franchise) ใหม่

จากผลการวิจัยของ Henry Kwong-yin Fock พบว่า วิธีการที่ดีที่สุดที่ให้ประโยชน์สูงสุดในการเลือกทำเลที่ตั้งคือ วิธีกำหนดทำเลที่ตั้งโดยผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ภายใต้กลไกตลาดที่เปิดกว้าง ซึ่งลูกค้าจะเลือกใช้บริการจากร้านแฟรนไชส์ (Franchise) ใด ๆ ก็ได้ที่อยู่ใกล้ สะดวกและให้บริการที่ดี ซึ่งในบางครั้งหากผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ไม่มีประสบการณ์ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ดี ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) อาจมีทีมงานให้คำที่ปรึกษาในการเลือกทำเลที่เหมาะสมได้

►การร่วมมือกันทางด้านการตลาด

ความสำเร็จของทั้งสองฝ่าย นอกจากการเลือกทำเลที่ดีแล้ว ยังเกิดจากการร่วมมือกันในการส่งเสริมการขาย โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย แม้ว่าจะมีผลการวิจัยในอดีตของ Schneider และคณะ ซึ่งระบุว่า ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ไม่เชื่อในอำนาจของการเพิ่มการโฆษณาที่จะสามารถชดเชยผลกระทบในด้านตรงข้ามของการเปิดแฟรนไชส์ใหม่ (Franchise) ของผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความต้องการทางการตลาด สามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยความพยายามทางการตลาดและการเพิ่มขึ้นของผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ใหม่ ซึ่งจะช่วยสร้างสีสันทางการตลาดเพิ่มขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ความร่วมมือทางด้านการตลาด Kaufmann and Rangan (1990) เรียกวิธีการนี้ว่า Win–Win Solution กล่าวคือ ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) และผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย โดยมุ่งเน้นไปยังการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย เพื่อชดเชยและลดผลกระทบอันเกิดจากผลลัพธ์ในทางตรงกันข้ามของทั้งสองฝ่าย เมื่อผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า โดยการแนะนำลูกค้าในแต่ละเขตการขาย ให้รู้จักสินค้ามากขึ้น ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จสูงขึ้นสำหรับทั้งผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) และผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee)

►ข้อพึงระวัง ประการสุดท้าย

ข้อคิดเตือนสติ ประการสุดท้ายของระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง คือ ลักษณะสำคัญของระบบแฟรนไชส์ (Franchise) คือ ผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ย่อมต้องควบคุมระบบการบริหาร การดำเนินงาน รวมทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับบริษัทแม่ ขณะที่ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ซึ่งหลายรายมีเหตุผลสำคัญในการเป็นผู้ประกอบการคือ ต้องการความเป็นอิสระ แต่เมื่อตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) แล้ว กลับสวนทางกับความต้องการของตน กล่าวคือ ผู้รับแฟรนไชส์ (Franchisee) ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระดังที่ตนเองคาดหวังได้ ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ซึ่งหลายธุรกิจและหลายประเทศ ต่างไม่สามารถแก้ไขปัญหาในข้อนี้ได้

ดังนั้นก่อนตกลงใจ ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) รายใด ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นประเภทธุรกิจ ชื่อเสียงและลักษณะการดำเนินงานของผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) ขณะเดียวกันผู้ให้แฟรนไชส์ (Franchisor) เอง ก็ต้องเลือกผู้ร่วมธุรกิจที่รู้และเข้าใจหลักการของตนเองเช่นกัน เพื่อภายหลังการร่วมธุรกิจกันแล้ว ต่างฝ่ายต่างได้รับความพึงพอใจในความสำเร็จร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า “ แฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรสำเร็จ”

เรียบเรียงบทความ
“ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ?

 

                       




บทความ-ความรู้พื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ <ดูทั้งหมด>

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ คิดก่อนลงทุน? article
แฟรนไชส์เสริมความงาม สปา สุขภาพ ธุรกิจน่าลงทุน article
แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? ศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้ article
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article
มุมมองการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน article
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) article
เกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ (Franchise) แห่งชาติ article
วิธีการสร้างและบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ 1 article
วิธีสร้าง-บริหารระบบแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ2 article
ใครคือนักลงทุน.. แฟรนไชส์ (Franchise)! article
วิธีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise) ทำอย่างไร? article
กลยุทธ์การเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่? article
แฟรนไชส์ (Franchise) ธุรกิจสำเร็จรูปหรือสูตรสำเร็จ? article
คุณสมบัติของธุรกิจที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน