ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจ
แฟรนไชส์ (Franchise)
สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น

  
ปัจจุบันนี้มีบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งบุคคลทั่วไปหรือที่ทำงานเป็นพนักงาน ลูกจ้างบริษัท รับราชการรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว รวมไปถึงผู้ที่ได้ลาออกหรือเกษียณอายุออกมา โดยมีความใฝ่ฝันและตั้งใจอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ เพื่อสร้างฐานะและความมั่นคงของครอบครัว แต่ปัญหาสำคัญก็คือการเลือกว่าจะทำธุรกิจประเภทใดจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ เนื่องจากแต่ละรายอาจจะไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนหรือบางรายอาจมีอุปสรรคทางด้านเงินลงทุน ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจในระดับต้นๆ  เพราะถือเป็นช่องทางธุรกิจที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง เพราะเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ (Franchise) หรือบริษัทแม่โดยส่วนใหญ่นั้น จะเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของตลาดอยู่แล้ว ผู้ที่ซื้อสิทธิรายใหม่จึงไม่ต้องสร้างชื่อเสียงเอง ทำให้ช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านส่งเสริมการตลาดลงไปได้มาก

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

นอกจากนี้ผู้ซื้อสิทธิยังได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การบริหารงานและความช่วยเหลือบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดจากเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) อีกด้วย ประการที่สำคัญธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ใช้เงินลงทุนในการเริ่มต้นกิจการไม่มากนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินทุนจำกัด สามารถประกอบธุรกิจแบบขนาดกลางขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีได้ อย่างไรก็ตามหนทางดำเนินธุรกิจในแต่ละก้าว มิใช่ว่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เพราะยังคงมีผู้ประกอบการในรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นจำนวนมาก ที่ไม่ประสบความสำเร็จและต้องออกจากตลาดไป เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นขาดประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นผู้ที่สนใจเข้ามาในธุรกิจนี้ ก็ควรจะต้องศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งเสียก่อน เพื่อที่จะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงในตลาดและประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ได้อย่างที่ตั้งใจไว้

นิยามของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) นั้นพอจะสรุปได้ว่าเป็นกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดวิธีหนึ่ง โดยบริษัทแม่หรือผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) ให้สิทธิแก่ตัวแทนรายย่อย (Franchisee) ในการประกอบธุรกิจในลักษณะเหมือนหรือตามขอบเขตที่บริษัทแม่กำหนดไว้ ซึ่งสิทธินี้อาจอยู่ในรูปของการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า สิทธิในการใช้ชื่อสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทแม่ หรือสิทธิที่จะนำเทคนิคในการผลิต การตลาด หรือวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทแม่มาใชัในกิจการของตน ซึ่งโดยมากแล้วสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise) มักจะรวมสิทธิต่างๆ ดังกล่าวไว้ด้วยกัน

ทั้งนี้บริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchise) จะมีการช่วยเหลือด้านต่างๆ อาทิ การเลือกทำเลที่ตั้ง การตกแต่งร้านค้า สถานที่ การจัดส่งวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงาน ตลอดจนการช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินธุรกิจให้ลุล่วงไป โดยสิ่งที่บริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) จะได้รับก็คือ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นหรือแรกเข้า (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการประจำงวดที่เก็บตามยอดขาย ซึ่งอาจเก็บเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี หรือที่เรียกว่า ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) รวมถึงค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์และค่าฝึกอบรมต่างๆ

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล มหาวิทยาลัยศรีปทุม พบว่า ในปี 2549 มีผู้ขายแฟรนไชน์ (Franchisor) ในประเทศไทยประมาณ 456 กิจการ เป็นของคนไทย 375 กิจการและต่างประเทศ 81 กิจการ โดยกิจการประเภทอาหารมีสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 31.4 ของประเภทกิจการที่ขายแฟรนไชส์ รองลงมาได้แก่ เครื่องดื่มร้อยละ 15.6 และบริการร้อยละ 11.8

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น

สำหรับข้อดีของการทำธุรกิจในรูปแบบ
แฟรนไชส์ (Franchise)
สรุปได้ดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ให้โอกาสกับผู้ที่มีเงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจสามารถที่จะเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ตามกำลังเงินทุนที่มี ซึ่งมีทั้งที่เริ่มต้นด้วยเงินลงทุนน้อยกว่า 1 แสนบาท ไปจนถึงแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านบาท ดังนั้นผู้ที่มีเงินทุนน้อยก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจแบบเอสเอ็มอีได้ และยังช่วยประกันความเสี่ยงต่อความล้มเหลวของธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
  • ลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยปกติเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) ต่างๆ มักจะเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนตราสินค้ารวมทั้งสินค้าหรือบริการเป็นที่ยอมรับของตลาด ดังนั้นช่องทางตลาดสำหรับผู้ที่เข้ามาซื้อสิทธิแฟรนไชส์ (Franchise) จึงใช้เวลาไม่นานก็สามารถขยายและเติบโตได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เนื่องจากบริษัทแม่ที่จำหน่ายแฟรนไชส์ (Franchise) ช่วยลดระยะเวลาในการทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของลูกค้าอยู่แล้ว
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยปกติผู้ประกอบการที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ด้วยตนเอง มักจะขาดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ ฉะนั้นจึงต้องมีการลองผิดลองถูกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งกว่าธุรกิจจะเข้าที่เข้าทาง แต่สำหรับระบบแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น ด้วยประสบการณ์ของบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการ รวมทั้งเทคนิคทางด้านการผลิตและการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถนำมาถ่ายทอดให้กับธุรกิจที่ซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดระยะเวลาที่ต้องเรียนรู้ธุรกิจให้สั้นลง ในขณะเดียวกันยังสามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ได้ถูกต้องและได้ผลเป็นอย่างดี ดังนั้นรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) ดังกล่าว จึงเหมาะสมกับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นกิจการ ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญทางด้านธุรกิจหรือตัวสินค้าและบริการมากนัก
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีสมาชิกในเครือข่ายที่มากจะทำให้ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบ ตลอดจนอุปกรณ์การผลิตต่างๆ มีสูง ซึ่งได้ราคาที่ต่ำกว่าการสั่งซื้อสินค้าทีละน้อย และเป็นปัจจัยทำให้ธุรกิจมีต้นทุนต่ำลงและมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น
  • ต้นทุนด้านการตลาดต่ำ ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) จะมีต้นทุนดำเนินการต่างๆ ซึ่งบริษัทแม่เป็นผู้เรียกเก็บ อาทิ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นหรือแรกเข้า (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการประจำงวดที่เก็บตามยอดขาย ซึ่งอาจเก็บเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี หรือที่เรียกว่า รวมถึงค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ และค่าฝึกอบรมต่างๆ แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าว บริษัทเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) จะนำไปใช้วิจัยและพัฒนาสินค้า ตลอดจนใช้เพื่อส่งเสริมการตลาด ซึ่งหากเป็นผู้ประกอบการทั่วไปงบประมาณการตลาดที่มีจำกัด ย่อมไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อหลักต่างๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แต่หากรวมรายได้จากธุรกิจแฟรนไชน์ที่เป็นสมาชิกเข้าด้วยกัน บริษัทแม่จะสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ
แฟรนส์ไชส์ (Franchise)

เมื่อได้ทราบถึงข้อดีของการดำเนิธุนกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) แล้ว สิ่งที่จะกล่าวถึงในลำดับถัดไปก็คือ การเริ่มต้นธุรกิจซึ่งจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนส์ไชส์(Franchise)  มาทำธุรกิจ เพื่อที่ธุรกิจจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด
โดยมีหลักการสำคัญสรุปได้ ดังนี้

  • การพิจารณาคัดเลือกประเภทธุรกิจ ปัจจุบันมีธุรกิจเป็นจำนวนมากที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) ทั้งในส่วนของร้านอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ สปา สุขภาพ ความงาม การศึกษา ไอที ร้านสะดวกซื้อ หนังสือ/วีดิโอ คาร์แคร์ เป็นต้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะเลือกเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในรูปแบบประเภทใด ซึ่งอาจเลือกประเภทธุรกิจตามความชอบหรือเลือกตามประสบการการณ์และความเชี่ยวชาญที่ผู้ประกอบการธุรกิจมีอยู่เดิม
  • การพิจารณาเงินทุนดำเนินการ ในบางครั้งผู้ประกอบการอาจชอบรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ประเภทหนึ่ง แต่ปัญหาก็คือต้องใช้ทุนดำเนินการที่สูงเกินกว่างบประมาณที่เตรียมไว้ ซึ่งหากว่าผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่นที่จะทำ ก็ต้องใช้วิธีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ทำให้เพียงเริ่มต้นธุรกิจก็ต้องมีภาระหนี้สินจำนวนมากเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังต้องมีภาระในการจ่ายค่าซื้อสิทธิแฟรนไชส์ (Franchise) ตลอดจนค่าดำเนินการต่างๆ จนอาจทำให้เกิดความท้อถอยได้ ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ควรเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยพิจารณาแฟรนไชส์ (Franchise) ที่ใช้ทุนดำเนินการที่เหมาะสม สอดคล้องกับงบประมาณที่มี เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่นและมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • การพิจารณาชื่อเสียงของบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์  (Franchise) บริษัทที่มีชื่อเสียงทั้งทางด้านความน่าเชื่อถือ รวมทั้งการมีส่วนแบ่งในตลาดที่สูง ย่อมมีประสบการณ์ทางด้านการทำธุรกิจและมีการลองผิดลองถูกมาระยะหนึ่ง รวมทั้งมีระบบจัดการด้านการบริหารการผลิต การตลาดที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการมีชื่อเสียงที่ดีย่อมก่อให้เกิดความนิยมชมชอบของลูกค้า ดังนั้นโอกาสที่ธุรกิจที่เข้าไปซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) จะประสบความสำเร็จย่อมมีเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับแฟรนไชส์ (Franchise) ต่างๆ สามารถหาได้จากหลายๆ แหล่ง เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ เช่น จากหนังสือพิมพ์ นิตยการ โทรทัศน์ หรือตัวบริษัทที่ทำแฟรนไชส์ (Franchise) เองและหากต้องการลงลึกในรายละเอียด อาจสอบถามจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์(Franchise) ไปประกอบการรายก่อนๆ ว่า ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
  • การพิจารณาเงื่อนไขในการซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) บริษัทแม่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ มักจะมีการกำหนดค่าลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ค่าธรรมเนียม ค่าฝึกอบรมพนักงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการตลาดต่างๆ ในขณะเดียวกัน บางธุรกิจอาจมีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งวัตถุดิบต่างๆ จากบริษัทแม่เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่จะประกอบธุรกิจจึงควรศึกษาถึงเงื่อนไข สัญญาต่างๆ ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนแฟรนไชส์ (Franchise)  นั้นๆ
  • การพิจารณาถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เมื่อดำเนินธุรกิจไปสักระยะหนึ่ง สินค้าหรือบริการอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งอาจเกิดจากสภาพเศรษฐกิจ รายได้ รสนิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้รูปแบบตลอดจนคุณภาพสินค้าหรือบริการ สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทแม่ผู้จำหน่ายแฟรนไชส์ (Franchise) ที่ดี ต้องปฏิบัติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
  • การพิจารณาด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยปกติเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchise) จะเก็บค่าธรรมเนียมดำเนินการต่างๆ รวมทั้งค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะให้กับผู้ซื้อแฟรนไชน์ (Franchise) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงนโยบายการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดของบริษัทที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไปสู่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ว่ามีมากน้อยเพียงใด

ความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ
แฟรนไชส์ (Franchise)

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจในรูปแบบการซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) มาเปิดดำเนินการธุรกิจ จะมีศักยภาพและโอกาสในการประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับการเปิดดำเนินธุรกิจโดยลำพังตนเอง แต่เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือสมการทางคณิตศาสตร์ที่เป็นเครื่องการันตีว่า เมื่อซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) มาเริ่มต้นทำธุรกิจแล้ว จะต้องประสบความสำเร็จทุกรายเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยแวดล้อมหลายประการที่เป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ ที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ๆ ไม่ควรมองข้าม ซึ่งมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้

  • ต้องเป็นธุรกิจที่ถนัดหรือชอบ การเลือกทำธุรกิจตามความชอบหรือสนใจและมีความถนัดหรือเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นอยู่บ้าง จะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่เกิดความท้อถอยแม้จะพบอุปสรรค ในขณะเดียวกันก็พร้อมจะเรียนรู้หาทางแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ นอกจากนี้การทำธุรกิจที่ถนัดหรือชอบจะทำให้สามารถเรียนรู้หลักการบริหารจัดการต่างๆ จากบริษัทแม่ผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchise) ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่มีความถนัดอยู่เดิม เช่น หากเดิมเคยประกอบธุรกิจร้านอาหารเล็กๆ มาก่อน การซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มีชื่อเสียงมาเปิดดำเนินการก็จะทำได้ง่าย  เนื่องจากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่พอสมควรแล้ว
  • ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสม แม้ว่าสินค้าหรือบริการจะมีความโดดเด่นหรือมีความน่าสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ แต่หากเลือกทำเลที่จะเปิดดำเนินการไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ที่มีลูกค้าสัญจรไปมาน้อยหรือสถานที่ซึ่งลูกค้าเดินทางมาไม่สะดวก  ประการสำคัญพื้นที่นั้นมีผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจคล้ายหรือใกล้เคียงกัน เปิดกิจการอยู่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายหรือการแข่งขันที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของธุรกิจในท้ายที่สุด ดังนั้นการเลือกทำเลที่เหมาะสม จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จหรือการเติบโตของธุรกิจ โดยในเบื้องต้นผู้ประกอบการควรใช้เวลาเสาะแสวงหาทำเลที่จะเปิดดำเนินการโดยไม่รีบร้อนและต้องพิจารณาทำเลหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะทำเลที่สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการที่จะจำหน่าย เช่น ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารสำนักงาน สถานีรถไฟฟ้า หมู่บ้านจัดสรร หรือตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เป็นต้น ทั้งนี้หากจำเป็นก็อาจต้องมีการศึกษา ทำวิจัย พฤติกรรมผู้ซื้ออย่างละเอียดประกอบการเลือกทำเล
  • เจ้าของต้องมีเวลาบริหารกิจการเอง มีหลายกรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีศักยภาพทางด้านเงินทุนดำเนินการ แต่มีข้อเสียคือไม่มีเวลาที่จะบริหารเองและเมื่อลงทุนซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) ไปแล้วก็มักจ้างคนมาทำหรือให้ญาติพี่น้องมาดูแล ซึ่งอาจส่งผลทำให้กิจการดำเนินไปได้ด้วยความไม่ราบรื่น เนื่องจากความเอาใจใส่ต่อการดูแลจัดการธุรกิจจะมีน้อยกว่ากรณีที่เจ้าของลงมือทำเอง เนื่องจากการขาดจิตสำนึกของการเป็นเจ้าของกิจการนั่นเอง ในขณะเดียวกันการให้ผู้อื่นเข้ามาบริหารกิจการแทนนั้นอาจประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่รั่วไหลออกไป จนส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจก็เป็นได้
  • มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการหากไม่มีความจริงจังในการทำธุรกิจ การที่จะประสบความสำเร็จก็ค่อนข้างลำบาก เพราะหากเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ก็จะรู้สึกท้อถอย ซึ่งต่างจากผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นและจริงจังในการประกอบธุรกิจ ที่จะทุ่มเทให้กับการบริหารและจัดการองค์กรให้สามารถฝ่าปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไปได้ รวมทั้งยังมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ พัฒนาและเข้ารับการฝึกอบรมทางด้านการผลิต การตลาด รวมถึงการบริหารจัดการต่างๆ ตามที่บริษัทแม่เจ้าของแฟรนไชส์จัดให้

กล่าวโดยสรุปแล้ว การดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกธุรกิจ ผู้ประกอบการรายใหม่เป็นจำนวนมาก ต่างสนใจเข้าสู่วงจรธุรกิจด้วยวิธีการนี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี เนื่องจากการเข้าสู่ธุรกิจนั้นทำได้ค่อนข้างง่ายเพราะบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น ได้มีการวางระบบต่างๆ โดยเฉพาะการบุกเบิกตลาดไว้พอสมควรแล้ว ในขณะเดียวกันยังมีธุรกิจที่ดำเนินการในรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) ให้เลือกหลากหลายประเภท ประการสำคัญคือสามารถใช้เงินทุนดำเนินการที่ไม่สูงมากนักก็เป็นเจ้าของกิจการได้ 
 
อย่างไรก็ตามธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ก็เหมือนกับธุรกิจทั่วๆ ไป ที่ย่อมมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาทำธุรกิจแข่งขัน ความเสี่ยงจากการบริหารจัดการที่ผิดพลาด เนื่องจากการไม่เคยทำธุรกิจ ดังนั้นหนทางสู่ความสำเร็จของแฟรนไชส์ (Franchise) จึงย่อมมีอุปสรรค ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนรายใหม่ คงต้องมีการทำการบ้านมาเป็นอย่างดีคือ ต้องศึกษาตัวผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด คู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้บริโภค และผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่อยู่ในธุรกิจอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ความเสี่ยงทางธุรกิจลดน้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เรียบเรียงบทความ
"ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่เพิ่งเริ่มต้น"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

.........................................................................................................

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เพิ่งเริ่มต้น

 

 




บทความ-ความรู้พื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ <ดูทั้งหมด>

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ คิดก่อนลงทุน? article
แฟรนไชส์เสริมความงาม สปา สุขภาพ ธุรกิจน่าลงทุน article
แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? ศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้ article
มุมมองการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน article
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) article
เกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ (Franchise) แห่งชาติ article
วิธีการสร้างและบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ 1 article
วิธีสร้าง-บริหารระบบแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ2 article
ใครคือนักลงทุน.. แฟรนไชส์ (Franchise)! article
ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ? article
วิธีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise) ทำอย่างไร? article
กลยุทธ์การเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) article
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่? article
แฟรนไชส์ (Franchise) ธุรกิจสำเร็จรูปหรือสูตรสำเร็จ? article
คุณสมบัติของธุรกิจที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน