ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article

ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

ขมิ้นชัน
พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

"ขมิ้นชัน พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย" เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมใช้กันมาช้านานแล้วและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้งในรูปแบบของยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สีผสมอาหาร สีย้อมผ้าและเตรื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหย

จากรายงานการวิจัยของสถาบันการวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ขมิ้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฤทธิ์ในการช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบ  ฯลฯ ทำให้สมุนไพรนี้ได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศอย่างมาก

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของ "ขมิ้น" คือ ส่วนของเหง้า ขมิ้นชันประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย มีสีเหลืองอ่อน มีสารสำคัญหลักคือ เทอร์เมอโรน และซิงจิเบอรีน นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีน และโมโนเทอร์ปีน อื่น ๆ อีกหลายชนิด และสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์ เป็นสารสีเหลือง ประกอบด้วย เคอร์คูมิน (Circumin) เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน (Desmethoxycurcumin) และบิสเดสเมทอกซีเคอร์คูมิน ( Bisdesmethoxycurcumin)

แม้ว่า "ขมิ้นชัน" จะมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและร้อนชื้นทั่วโลก ซึ่งมีมากมายหลายสายพันธุ์

จากหนังสือเรื่องชุด มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 2 ของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  ระบุว่า ขมิ้นชันที่ดีในตลาดโลกมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ ส่วนมากมาจากอินเดีย วึ่งจำแนกสายพันธุ์โดยใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด สี กลิ่น และอายุเหง้าที่สมบูรณ์พร้อมเก็บเกี่ยว มีทั้งสายพันธุ์อายุพร้อมเก็บเกี่ยวสั้น 7 เดือน สายพันธุ์อายุพร้อมเก็บเกี่ยวยาว 9 เดือน และสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีมีปริมาณสารสำคัญสูง เช่น สายพันธุ์ Suvarna-PCT-8 ของอินเดีย ให้ผลผลิตดี 40-43  ตัน/เฮกแตร์ (ประมาณ  6.4-6.8  ตันไร่) และมีสารเคอร์คูมิน  8.7%

ส่วนในประเทศไทย งานรวบรวมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ปลูกยังมีผู้ดำเนินการน้อยมาก ส่วนใหญ่ยังคงใช้พันธุ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือจากแหล่งขายวัตถุดิบ ในปี พ.ศ. 2543 รายงานผลการรวบรวมพันธุ์ปลูกไว้ที่ศูนย์วิจัยพืชตรัง ของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 10 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ชุมพร 27058701 มีสารเคอร์คูมิน 9.74 % แต่ให้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน/ไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับสายพันธุ์อื่น ที่รวบรวมไว้ทั้ง 9 สายพันธุ์

แต่อย่างไรก้ตาม มีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในขมิ้นชันที่เก็บจากแหล่งปลูกต่าง ๆ ในประเทศไทย จำนวน  44 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ และอายุการเก็บเกี่ยวพบว่า มีความแปรผันสูงมากระหว่างถูมิภาคของประทศ โดยพบปริมาณเคอร์คูมินอยด์ มีค่าแปรผันระหว่าง 4.74-22.57 % และปริมาณน้ำมันหอมระหว่าง 6-16% รวมทั้งพบว่า มีความแปรผันมากจากตัวอย่างที่เก็บจากแหล่งปลูกภายในจังหวัดเดียวกัน

......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

......................................................................................

เกี่ยวกับเรื่องนี้ หนังสือเรื่องชุด มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 2 ก็ได้แนะนำว่า หากสนใจนำขมิ้นมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจ จะต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสายพันธุ์ ซึ่งมีข้อควรคำนึงดังนี้

  1. ควรเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพด้านปริมาณสารสำคัญที่ใช้ประโยชน์ ตรงตามกำหนดมาตรฐานการผลิตยา หรือมาตรฐานตลาดการค้าของโลกสำหรับตามข้อกำหนดในตำรายาสมุนไพรของไทย ระบุว่าต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์ไม่ต่ำกว่า 5 % และมีน้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6 %
  2. ควรเลือกพันธุ์ที่มีคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ เหง้าสมบูรณ์ มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 7-8 เดือน หรือตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป เหง้าที่ใช้ทั้งหัวหรือแง่ง ควรมีตามากกว่า 2-5 ตาขึ้นไป และเหง้าสมบูรณ์ มีความแกร่งไม่เล็กลีบ ควรมีตามากกว่า 2-5 ตาขึ้นไป และเหง้าสมบูรณ์ มีความแกร่งไม่เล็กลีบ ปราศจากโรคแมลง สัตว์ ศัตรูพืช

ทว่า เราต้องไม่มองข้ามการเก็บรักษาเหง้าหรือเหง้าสด ไว้สำหรับฤดูกาลต่อไป เพราะการเก็บรักษาที่เหมาะสมจะช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงความเสียหายของเหง้าพันธุ์ได้ โดยทั่วไปนิยมเก็บ 2 วิธี คือ

  1. วางผึ่งไว้ในที่ร่ม สะอาด ปราศจากโรค แมลงและสัตว์ต่าง ๆ รบกวน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ผิวสัมผัสหรือพื้นที่เก็บต้องแห้ง ปราศจากความชื้น
  2. ฝังในทรายหยาบละเอียด เย็นและชื้น ในที่ร่ม กรณีที่อาจมีโรคและแมลงติดมากับเหง้าที่จะเก็บทำพันธุ์ควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดแมลง หรือสารป้องกันกำจัดรา โดยระมัดระวังและต้องปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากกำกับ ควรผึ่งท่อนพันธุ์ให้แห้งก่อนฝังทราย

นั่นเป็นวิธีเบื้องต้น ในการคัดเลือกสายพันธุ์ของขมิ้นให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การปลูกขมิ้น
จากเอกสารสมุนไพรกับการพัฒนาสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ขมิ้นชันชอบอากาศชื้น ดินร่วนปนทราย ระบายนำดีไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง ขมิ้นชันสามารถปลูกได้ในสวนผลไม้เนื่องจากร่มเงาของผลไม้ไม่เป็นอุปสรรค ต่อการเจริญเติบโตของขมิ้น แค่ควรหลีกเลี่ยงการปลูกชิดโคนไม้ผลเพราะจะทำให้ผลผลิตต่ำ

ฤดูที่เหมาะสมในการปลูก "ขมิ้นชัน"
คือหน้าฝน แต่ควรเริ่มปลูกตั้งแต่ต้นฤดูฝนคือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ส่วนในฤดอื่น ๆ ขมิ้นชันมีการฟักตัวไม่ยอมงอก ถึงแม้จะให้น้ำหลังการปลูกก็ตาม

ด้านขยายพันธุ์ "ขมิ้นชัน"
สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งหัวและเหง้า ในกรณีการขยายพันธุ์ด้วยหัว ขมิ้นชันจะเจริญเติบโตและแตกเหง้าดี ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากในหัวมีอาหารสะสมอยู่มาก แต่มีข้อเสียคือ ต้องการใช้หัวทำพันธุ์ในในปริมาณมากจะหาไม่ได้ เพราะในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง 1 ต้น จะมีเพียง 1 หัวเท่านั้น

ในกรณีการขยายพันธุ์ด้วยการแบ่งเหง้า เป็นที่นิยมของเกษตรกรเพราะเหง้าพันธุ์เมื่อต้องการปริมาณมากจะหาได้ง่ายกว่าหัว  ส่วนการเจริญเติบโตก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า

เหง้าพันธุ์ที่ใช้ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 350-420 กิโลกรัม และเหง้าหัวที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ มีตาหรือแง่งที่สมบูรณ์ไม่เล็กลีบ มีอายุระหว่าง 7-9 เดือน ปราศจากโรคและแมลง ซึ่งทางที่ดีควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงที่ติดมากับหัวหรือเหง้าพันธุ์ ขนาดของเหง้าพันธุ์ควรมีตาหรือแง่งอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง

การเตรียมดิน 
ต้องไถ พรวน หรือขุดดิน เพื่อทำให้ดินร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ขมิ้นชันแตกเหง้าและเจริญเติบโตดี ตลอดจนการกำจัดวัชพืชไปในตัว ทั้งนี้การไถ พรวน ต้องทำ 2 ครั้งคือ การไถดะเพื่อกำจัดวัชพืชและเปิดหน้าดินให้ร่วนซุย แล้วตากดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อทำลายเชื้อโรคและไข่แมลงในดิน และการไถแปรเพื่อกลับหน้าดินขึ้นและทำให้ดินร่วนซุยมากขึ้น พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด

ถ้าเป็นดินเหนียวจัดควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปู๋ยคอก อัตรา 1 ตัน/ไร่ เพื่อปรุงดิน การเตรียมดินควรไถพรวนก่อนต้นฤดูฝน ให้มีสภาพพร้อมปลูกในต้นฤดุฝน

การเตรียมแปลงปลูก 
มี 2 รูปแบบคือ แปลงปลูกสภาพพื้นราบเหมาะกับพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี และแปลงปลูกแบบยกร่อง เหมาะกับสภาพพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ราบต่ำ มีการระบายน้ำไม่ดี ขนาดร่องแปลงปลูกที่ง่ายต่อการดูแลรักษาควรกว้างประมาณ 1.20 เมตร  สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร  ขนาดความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และขนาดของพื้นที่ แต่ละแปลงควรเว้นช่องห่างประมาณ 0.5  เมตร เพื่อใช้เป็นทางเดินสำหรับการดูแลของผู้ปลูก

การปลูก 
ควรปลุกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เพราะพืชจะได้มีช่วงระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ตลอดฤดูฝน หน่อจะงอกประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังการปลูก และดอกจะออกในเดือนกรกฎาคม-กันยายน

ขมิ้นที่อายุปลูกได้ประมาณ 4-5 เดือน ลำต้นเหนือดินจะโทรมยุบในช่วงฤดูแล้ง และลำต้นใต้ดินเข้าสู่ระยะฟักตัวพร้อมเก็บเกี่ยว ประมาณเดือนธันวาคมเป็นต้นไป อายุปลูกที่พร้อมเก็บเกี่ยวตามฤดูประมาณ 7-9 เดือน ดังนั้นหากปลูกช้าเกินไป  นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงดุแลรักษาแล้ว พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ผลผลิตที่ได้จะต่ำกว่าขมิ้นที่ปลูกได้ตามฤดูกาลปกติ

วิธีปลูก

  1. กำหนดระยะการปลูก ในสภาพพื้นที่ราบใช้ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร และใช้ระยะระหว่างต้น 30  เซนติเมตร สำหรับการปลูกในสภาพยกร่องใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
  2. ขุดหลุมกว้างประมาณ 1 หน้าจอบ ลึกประมาร 10-15 เซนติเมตร
  3. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมในอัตรา 1 กระป๋องนม คลุกเคล้าให้เข้ากับดินก้นหลุม หรือรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
  4. นำหัวหรือเหง้าพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก  แล้วกลบดินทับหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร

การดูแลรักษา

  1. การคลุมแปลง หลังจากการปลูกขมิ้นชันเรียบร้อยแล้ว ควรใช้ฟางข้าว ใบหญ้าคา หรือวัสดุอย่างอื่นที่มีคุณสมบัติเหมือนกันมาคลุมแปลงปลูก เพื่อช่วยรักษาและควบคุมความชื้นในดิน ซึ่งมีผลทำให้การงอกของขมิ้นชันเร็วขึ้น
  2. การให้น้ำ  หลังการปลูกขมิ้นชันเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ควรรดน้ำให้ชุ่มเพื่อปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เหมาะต่อการงอกและหลังจากนี้ควรให้น้ำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ  หรือให้น้ำเมื่อเห็นว่าดินแห้ง  เพื่อรักษาความชื้นในดินให้มีอยู่เสมอ
  3. เมื่อขมิ้นชันอายุประมาณ 6-7 เดือน จะเริ่มทิ้งใบ ระยะนี้อาจจะลดการให้น้ำและหยุดการให้น้ำ เพราะเป็นช่วงที่ขมิ้นชันพักตัวหยุดการเจริญเติบโต
  4. การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15  และ 13-13-21 แบ่งใส่เป็น 2 ระยะคือ ใส่ครั้งแรกเมื่อขมิ้นชันอยู่ในช่วง 1 1/2 - 2 เดือน ซึ่งเป็นระยะขมิ้นชันเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและแตกใบ ในอัตรา 1/2 ช้อนแกงต่อต้น

ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อขมิ้นชันอายุอยู่ในช่วง 3-4 1/2 เดือน ซึ่งเป็นระยะขมิ้นชันเจริญเติบโตทางด้านการแตกเหง้าและหัว ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น

การใส่ปุ๋ย ใส่ห่างจากโคนต้นประมาณ 8-15  เซนติเมตร โดยการขุดหลุมฝังหรือหว่านระหว่างแถว แล้วพรวนดินกลบ  หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องให้น้ำทันที

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคและแมลงที่ทำความเสียหายให้กับขมิ้นชันมีดังนี้คือ

  1. เพลี้ยหอย ลักษณะตัวเล็กมากเท่ากับไรสีน้ำตาลแดง จะวางไข่ไว้ที่ผิวเปลือกของเหง้าขมิ้นชันเป็นสะเก็ดสีขาว โดยการทำความเสียหาย จะพบในระยะการเก็บเกี่ยว และการดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้เหง้าเหี่ยวแห้ง
  2. สำหรับการกำจัด หลังจากการเก็บเกี่ยวขมิ้นชันหรือก่อนที่จะนำเหง้าพันธุ์ไปปลูกต้องแช่ด้วยสารเคมีที่ชื่อ "มาลาไธออน" หรือ "คลอไพรีฟอส" นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง อัตราการใช้เป็นไปตามฉลากข้างขวด
  3. หนอนกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินผิวหนังใต้ใบและทำให้ใบเป็นรูพรุน ซึ่งจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโต การป้องกันกำจัดให้ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุก 7-15  วัน หรือเมื่อพบว่ามีการระบาด สารเคมีที่ได้ผลดี เช่น มาลาไธออน เป็นต้น

การเก็บเกี่ยว
ขมิ้นชัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 5 เดือนขึ้นไป แต่โดยทั่วไปขมิ้นชันที่ปลูกตามฤดูกาลควรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 7-9 เดือน เพราะเหง้าที่ได้มีความสมบูรณ์เต็มที่

สำหรับวิธีการเก็บเกี่ยว 
ใช้จอบขุด ถ้าดินแข็งควรใช้น้ำรดแปลงให้ชุ่มก่อน แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ดินแห้งหมาด ๆ จึงทำการขุด ส่วนใหญ่จะมีดินติดกับเหง้าหัวขึ้นมาด้วย ดังนั้นให้การทำความสะอาดด้วยการเคาะเอาดินออก แล้วนำไปเขย่าหรือแกว่งในน้ำอีกครั้ง โดยภาชนะที่มีรูเล็ก ๆ และน้ำไหลผ่านได้สะดวกเช่น  เข่ง  ตะกร้า ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ทำความสะอาดได้รวดเร็วและปลอดภัย ทั้งนี้ผลผลืตที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 2.5-4.5 ตัน/ไร่

การเก็บรักษา
กระบวนการผลิตขมิ้นชันให้ได้คุณภาพ  นอกจากต้องอาศัยความละเอียดตามวิธีการและขั้นตอนข้างต้นแล้ว การเก็บรักษาอย่างถูกวิธีก็จะช่วยรักาาคุณภาพของขมิ้นได้เป็นอย่างดีด้วย จากหนังสือเรื่องชุดมาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 2 ของสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้แนะนำไว้ว่า การเตรียมขมิ้นชันก่อนทำให้แห้งและการทำแห้ง มี 2 รูปแบบคือ

  1. แบบชิ้น ให้หั่นหัวหรือแง่งเป็นชิ้นบาง ๆ วางบนถาดหรือกระด้งเกลี่ยให้บาง คลุมด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและป้องกันการปลิวของสมุนไพร นำไปทำให้แห้งโดยการตากแดด หมั่นกลับบ่อย ๆ หรือโดยการอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สำหรับ 8 ชั่วโมงแรก แล้วลดอุณหภูมิลงเป็น 40-50 องสาเซลเซียส หมั่นกลับบ่อย ๆ อบจนแห้ง โดยทั่วไปขมิ้นชันสด 5-6  กิโลกรัม จะได้ขมิ้นชันแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม
  2. ทั้งแง่ง วัตถุดิบเครื่องเทศในตลาดการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะวัตถุดิบจากอินเดีย นิยมซื้อขายในสภาพแห้ง  โดยนำแง่งที่ทำความสะอาดดีแล้ว ต้มในน้ำเดือดนาน 1-2 ชั่วโมง หรือต้มในน้ำด่างอ่อน เช่นโซเดียมไบคาร์บอนเนต โซเดียมคาร์บอเนต  ฯลฯ

ระยะเวลาที่ใช้ต้มแตกต่างตามความเหมาะสม เช่น ต้มในน้ำด่าง แคลเซียมออกไซด์ 1% นาน 3 ชั่วโมง ต้มในแคลเซียมคาร์บอเนต 2.5 % นาน 1 ชั่วโมง เป็นต้น จากนั้นจึงนำไปตากแดดจนแห้ง ประมาณ 6-8 วันหรือ โดยใช้เครื่องเป่าลมร้อน 65-70 องศาเซลเซียสจนแห้ง ทั้งนี้การทำแห้งโดยแสงแดดที่ใช้เวลานาน จะทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้มาก และสีสันของขมิ้นจะสวยน้อยกว่าขมิ้นแห้งที่ได้จากการอบ

สำหรับขมิ้นแห้งที่ได้ ควรบรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดให้สนิท เก็บในที่แห้งและสะอาด หากไม่ได้นำไปใช้นำออกผึ่งในที่ร่มทุก 3-4 เดือน ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะจาการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลงประมาณ 25% เมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
สูตรและวิธีการทำสบู่สมุนไพรขมิ้นชัน จากชาววัง

♦เรียบเรียงบทความ "ขมิ้นชัน พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

 

ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

 


  

 

Custom Search

 

 




มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ <ดูทั้งหมด>

พลังแห่งกลิ่นหอม "กำยาน" ความหอมอมตะ article
พันธุ์ไม้สร้างและสะสมน้ำมันหอมระเหยของไทย article
พลังแห่งกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต article
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
ตะไคร์หอม พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน