ReadyPlanet.com
พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน (ADVERTISEMENT)
*YesSpaThailand.com เราสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคุณ... ศูนย์รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสปา อโรมาเทอราปี นวดแผนไทย โรงเรียนสปา โรงเรียนนวดแผนโบราณ สมุนไพร วิถีแห่งธรรมชาติบำบัด แพทย์ทางเลือก อายุรเวท ความงาม ผู้หญิง สุขภาพ โยคะ เครื่องดื่มสปาเพื่อสุขภาพ ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์สปา แนะนำการลงทุนในธุรกิจสปา สปาแฟรนไชส์-เส้นทางลัดสู่การลงทุน ศูนย์รวมรายชื่อธุรกิจสปา Spa Dicectory ข่าวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรับสมัครงาน โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ...YesSpaThailand.com *เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ วิธีการนวดฝ่าเท้า วิธีการนวดขา วิธีการนวดใบหน้า คอ แขนและมือ วิธีการนวดในท่านั่ง วิธีการนวดคอ วิธีการไหล่และหลัง วิธีการนวดไทยขั้นพื้นฐาน วิธีนวดหน้า วิธีการนวดไหล่ วิธีการนวดคอ วิธีการนวดขาและนวดเท้า วิธีการนวดเอวและนวดหลัง วิธีการนวดแขนและนวดมือ วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้าเบื้องต้น ขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณทุกท่าน เข้าชมเว็บไซต์ครบ *แนะนำโรงเรียน-สอนนวดฟรี-เรียนนวดฟรี:-เรียนนวดแผนไทยฟรี-สอนนวดกดจุดฝ่าเท้าฟรี  สูตรวิธีการทำเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้-สูตรล้างสารพิษ สูตรลดความเครียด สูตรรักษาโรค เสริมภูมิคุ้มกัน สูตรวิธีการทำสมุนไพรสด สำหรับพอกหน้า-พอกตัว ยาแผนโบราณตำรายาสมุนไพรวัดโพธิ์ วิธีการนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ Four Element Massage สมุนไพรแห่งความงาม9,546,019 Visitors *โยคะ (Yoga) คืออะไร ประวัติโยคะ วิธีการฝึกโยคะ สูตรการฝึกโยคะ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ คำแนะนำในการฝึกโยคะ ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ การเตรียมตัวฝึกโยคะ (Yoga) อุปกรณ์ของการฝึกโยคะ โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?  โยคะร้อน (Bikram Yoga) คืออะไร? โยคะต้านแรงโน้มถ่วง (Antigravity Yoga) คืออะไร?  เทคนิควิธีฝึกการหายใจแบบโยคะ (ปรานายามา) ลมปราณแห่งชีวิต วิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง19,032,108 PageViews *สปาคืออะไร ประเภทของสปา รูปแบบและบริการของสปา องค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสปา สปาไทย-สปาตะวันตก	 สปาหู สปามือ สปาเท้า สปาผม สปาปลาบำบัด อโรมาเทอราปี (สุคนธบำบัด) ประเภทของการนวดกับอโรมาเทอราปี  วิธีการผลิต การสกัด สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหย เอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567*วิธีการนวดแผนโบราณ ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า ข้อควรระวัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ ข้อแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก ความลับของการนวดฝ่าเท้า ประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร วิธีประโยชน์ของการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot dot
dot
โฆษณาผู้สนับสนุน (Advertisement)
dot
จันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel: 0-2314-5759
bulletจันทร์ธาราสปา Chantrara Spa ผู้นำด้านความงามทรวงอก และสุขภาพผิวพรรณ Tel. 023145759
dot
ค้นหาบทความที่คุณต้องการ

dot
dot
สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ
dot
bulletความหมายของ-สปา-SPA
bulletประเภทของสปา-SPA
bulletองค์ประกอบของสปาเพื่อสุขภาพ
bulletรูปแบและบริการของสปา
bulletสปาไทย-สปาตะวันตก
bulletผลิตภัฑ์สมุนไพรสำหรับสปา
bulletสปาหู Ear Candeling
bulletสปามือ-สปาเท้า
bulletสปาผม
bulletสปาปลาบำบัด Spa Fish
bulletออกซิเจน โซลาร์ สปา
dot
พลังแห่งกลิ่นหอม-อโรมาเทอราปี
dot
bulletอโรมาเทอราปี - คืออะไร
bulletร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ จากกลิ่นบำบัด ในอโรมาเทอราปี
bulletประเภทของการนวดยอดนิยม
bulletอโรมาเทอราปี-กับการนวดเด็ก
bulletสูตรน้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคและการบำบัดเพื่อสุขภาพ
dot
อโรมาเทอราปี - เพื่อความงาม
dot
bulletการดูแลสภาพเส้นผมและผิวพรรณ
bulletสูตรถนอมและบำรุงเส้นผม
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวพรรณ
bulletสูตรเพื่อการถนอมผิวหน้า
bulletสูตรผสมเพื่อการอาบน้ำ
dot
dot
dot
น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
dot
bulletน้ำมันหอมระเหย-คืออะไร
bulletวิธีการใช้และสรรพคุณ
bulletข้อควรระวังในการใช้
bulletประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีการผลิต-น้ำมันหอมระเหย
bulletน้ำมันหอมระเหยของไทย
bulletเอสเซ็นเชียล ออยล์ สูตรผสมและคุณประโยชน์
bulletน้ำมันกระสายยา-คืออะไร
bulletสูตรผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อความงามและสุขภาพ
bulletราศีกับการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย
bullet114 ชนิดของน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณ คุณสมบัติและวิธีนำไปใช้
bulletเหตุใดน้ำมันหอมระเหยจึงมีราคาแตกต่างกัน
bulletน้ำมันหอมระเหยรักษาโรคได้จริงหรือ
bulletวิธีเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยให้ได้ของแท้ 100%
bulletข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติ และน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ (ของเทียม)
bulletข้อแตกต่างระหว่าง น้ำมันหอมระเหยออแกนิกส์ กับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 100%
dot
dot
dot
สปาไทย-มนต์เสน่ห์ของไทยพื้นบ้าน
dot
bulletสปาไทย วิถีวัฒนธรรมแบบไทย
bulletย้อนรอยศาสตร์การนวดแผนไทย
bulletเสน่ห์ไทยกับการนวดแผนโบราณ
bulletวิธีการนวดแผนโบราณ
bulletรูปแบบการนวดแผนโบราณ
bulletข้อแตกต่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก
bulletประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
bulletข้อห้ามการนวดแผนโบราณ
bulletไทยสัปปายะ นวดไทยกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
bulletรูปแบบการนวดยอดนิยมในเอเชีย
bulletความลับของการนวดฝ่าเท้า
bulletประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
bulletขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า
bulletกฎ-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
dot
dot
dot
วิธีการนวดแผนโบราณ ขั้นพื้นฐาน
dot
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดหน้า
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดคอ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดไหล่
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดแขน-มือ
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดเอว-หลัง
bulletวิธีนวดแผนโบราณ นวดขา-เท้า
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เบื้องต้น 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า เพื่อสุขภาพ 2
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 1
bulletวิธีการนวดฝ่าเท้า รักษาโรค 2
dot
เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ
dot
bulletเทคนิควิธีการนวดเท้า
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 1
bulletเทคนิควิธีการนวดขา ตอน 2
bulletเทคนิควิธีการนวดหน้า คอ แขน มือ
bulletเทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง คอ ไหล่และหลัง
dot
dot
dot
องค์ความรู้ - วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ)
dot
bulletชีวประวัติ "ปู่ฤาษีชีวก โกมารภัจจ์" แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า บรมครูของวงการแพทย์แผนไทย
bulletประวัติความเป็นมาของวัดโพธ์
bullet"เส้นประธานสิบ" หลักสำคัญของวิชาการนวดไทย
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับตู้ยาประจำบ้าน
bulletตำรายาสมุนไพร-สำหรับรักษาโรค
dot
dot
bulletประวัติความเป็นมาของ ฤาษีดัดตน
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 1-5
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 6-10
bulletวีดีทัศน์ ฤาษีดัดตน ท่าที่ 11-15
dot
dot
dot
ธาตุเจ้าเรือน ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
dot
bulletมารู้จักธาตุเจ้าเรือน ในตัวเรา
bulletการนวดฟื้นฟูธาตุเจ้าเรือน
bulletวิธีการนวดฟื้นฟูตามธาตุเจ้าเรือน
bulletธาตุเจ้าเรือนกับการใช้น้ำมันหอมระเหย
bulletวิธีเลือกคู่รักตามธาตุเจ้าเรือน
bulletอายุรเวท (Ayurrveda) คืออะไร
bulletตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
bulletชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและธาตุอากาศ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
bulletชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
dot
dot
dot
ลูกประคบ-สมุนไพรไทย
dot
bulletความลับของลูกประคบสมุนไพร
bulletอุปกรณ์ วิธีการทำ สมุนไพรที่สำคัญ การเก็บรักษา ลูกประคบ
bulletสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของลูกประคบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ลูกประคบ จากชาววัง
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 1
bulletสูตรลูกประคบรักษาเฉพาะโรค 2
bulletสูตรลูกประคบสมุนไพรไทยแบบสดและแบบแห้ง
dot
อบไอน้ำ-สมุนไพรไทย
dot
bulletการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อความงาม
bulletสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการ อบไอน้ำสมุนไพร
bulletวิธีการอบ ข้อห้าม การอบสมุนไพร
bulletสูตรลับ-ยาอบสมุนไพรจากชาววัง
dot
dot
dot
อยู่ไฟ-คุณแม่หลังคลอดบุตร
dot
bulletความหมายของการ-อยู่ไฟ
bullet29 ขั้นตอนของการ-อยู่ไฟ
dot
dot
dot
สมุนไพรแห่งความงามและสุขภาพ
dot
bulletตำลึง-ครีมสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ
bulletบัวบก-ครีมสมุนไพรบำรุงความงาม
bulletเทียนบ้าน-ครีมสมุนไพรฟื้นฟูผิว
bulletฝรั่ง-ครีมสมุนไพรแห่งความงาม
bulletสูตรลับ-น้ำมันสมุนไพร-ยาสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งฝุ่นสมุนไพร
bulletสูตรลับ-แป้งสมุนไพรระงับกลิ่นกาย
bulletสูตรลับ-ยาสมุนไพร-แห่งความงาม
bulletสูตรสมุนไพรสดพอกหน้า-พอกตัว
bulletสูตรสวยลึกล้ำจากธรรมชาติ
dot
dot
dot
มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ
dot
bulletพลังกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต
bulletพืชหอมของไทย ที่นำมาใช้ในสปา
bulletกำยาน ความหอมอมตะ
dot
dot
dot
โยคะ (Yoga) ลมปราณแห่งชีวิต
dot
bulletโยคะ (Yoga) คืออะไร? ประวัติโยคะ
bulletความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโยคะ
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะ (Yoga)
bulletคำแนะนำในการฝึกโยคะ และ 10 ข้อควรระวังในการฝึกโยคะ
bulletศิลปะ ปรัชญาและ 4 เทคนิคการฝึกโยคะ (Yoga) อย่างง่ายๆ
bulletอุปกรณ์และการเตรียมตัวฝึกโยคะ เมื่อไรควรฝึกโยคะ? (Yoga)
bulletโยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร? ประเภท เป้าหมาย และการแบ่งระดับชั้นของโยคะอาสนะ
bulletวิธีการฝึกโยคะ: ท่าสุริยะนมัสการ
bulletโยคะร้อน (Bikram Yoga) คือ...
bulletประโยชน์ของการฝึกโยคะร้อน
bulletข้อควรระวังในการฝึกโยคะร้อน
bulletโยคะต้านแรงโน้มถ่วง คืออะไร?
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจทางจมูกสลับข้าง
bulletวิธีการฝึกหายใจแบบโยคะ: การหายใจแบบผึ้ง
bulletแนะนำโรงเรียนสอนโยคะ (Yoga)
dot
dot
dot
ผลิตภัณฑ์สปา-มรดกอัศจรรย์ของไทย
dot
bulletสูตรและวิธีการทำ-ผลิตภัณฑ์สปา
dot
dot
dot
สูตรเครื่องดื่มสปา เพื่อสุขภาพ
dot
dot
dot
dot
แนะนำสปาใกล้บ้านคุณ
dot
bulletHotel & Resort SPA
bulletDay SPA
bulletMedical SPA
bulletDestination SPA
bulletHealth Massage SPA
bulletSPA Schools
dot
dot
dot
แนะนำการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
dot
bulletแนะนำ แฟรนไชส์ สปา ความงาม สุขภาพ โยคะ เส้นทางลัดสู่การลงทุน
bulletแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
bulletความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
bulletมาตรฐาน คุณภาพของแฟรนไชส์
bulletมุมมองการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
bulletบทความ-ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์
bulletบทความ-คัมภัร์บริหารเชิงกลยุทธ์
dot
dot
dot
VDO องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย
dot
bulletวีดีโอ ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดไทย
dot
dot
dot
สาระน่ารู้ เพื่อคุณภาพของชีวิต
dot
bulletบทความ - สปา สุขภาพ ความงาม
bulletแนะนำหนังสือ
bulletข่าวประกาศรับสมัครงานสปา
bulletข่าวโปรโมชั่น-ส่วนลดพิเศษ
bulletNEWS & EVENTS
bulletฝากข่าวประชาสัมพันธ์
bulletฝากข่าวรับสมัครงาน


พื้นที่โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรงละครไทย อลังการ พัทยา
Nantra de Boutique Hotel Pattaya: Pattaya
Lanna Come Spa
Chantrara Spa
Parutee
Chivasom Academy
Tai-Pan Hotel
Spa @ Bangkok
Panviman Spa Academy


กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article

กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

"กฤษณา"
พืชน้ำมันหอมระเหย
ที่มีศักยภาพของไทย

"กฤษณา"  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 18-21 เมตร ขึ้นไป วัดได้โดยรอบลำต้นยาวประมาณ 1.5-1.8 เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำ ๆ หรือรูปกรวย ลำต้นเปลาะตรง เมื่อมีอายุมากเปลือกนอกเรียบ  สีเทาอมขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป  เปลือกนอกจะปริเป็นร่องเล็ก ๆ เมื่อมีอายุมาก ๆ ส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง

ใบ เป็นชนิดเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับหรือรูปยาวขอบขนานออกเรียงสลับกัน เนื้อใบเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง  2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร ใบแก่เกลี้ยงเป็นมันแต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม

ดอกสีขาว ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็ก ๆ มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดที่ง่ามกิ่ง

ใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary หรือ Teminal Umables ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก ออกดอกในช่วงฤดูร้อน และกลายเป็นผลแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณา จะมีทั้งเนื้อไม้ปกติและเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว (เสดครู) และกฤษณาดำ ซึ่งมีเนื้อไม้หอม

เนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดชัดเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำ จะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปสำเร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว โดยปกติแล้วระหว่างผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะทำให้สีไม้เสีย

ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณาจะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่าง ๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียวอยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมคือ Sesquiterpene Alcohol มีหลายชนิดอาทิ a-Agarofuran, Agarospirol และ Agarol

คุณภาพของกฤษณาในประเทศไทย
ได้แบ่งเป็น 4 เกรด ดังนี้

  • เกรด 1  ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ลูกแก่น มีน้ำมันกฤษณาสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ ทำให้มีสีดำ มีราคาแพงมาก ประมาณ 30,000-60,000 บาท/กิโลกรัม
  • เกรด 2  มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด 1 สีจะจางออกทางน้ำตาล มีราประมาณ 8,000-10,000  บาท/กิโลกรัม
  • เกรด 3  มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด 2 มีราคาประมาณ 1,000-1,500 บาท/กิโลกรัม
  • เกรด 4  มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อย ใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย มีราคาประมาณ 200-600 บาท/กิโลกรัม

การขยายพันธุ์

ไม้กฤษณาเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. ไม่อนุญาตให้ตัดฟัน ทำให้มีการลักลอบตัดฟัน เพื่อนำแก่นไม้หอมมาจำหน่ายกันอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุที่ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่หายากและตลาดโลกมีความต้องการสูง ในตลาดซื้อขายกันเป็นกิโลกรัม  ราคากิโลกรัมละ 20 บาท ถึง 60,000 บาท ฉะนั้นจึงทำให้ชาวบ้านที่มีอาชีพเก็บหาของป่าเสี่ยงต่อกฎหมายลักลอบเข้าไปตัดไม้เขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นผลให้ไม้กฤษณาในประเทศไทยใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้นรัฐบาลจึงเห็นว่าไม้กฤษณาเป็นไม้ที่ควรอนุรักษ์พร้อมขยายพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ โดยการปลูกสร้างสวนป่า ภาคเอกชน ในพื้นที่ทางราชการกำหนดโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนในการปลูกและบำรุงรักษา

สำหรับการขยายพันธุ์กฤษณาที่นิยมทำกันมากคือ การขุดกล้าไม้ ซึ่งเป็นเมล็ดที่ตกมาจากต้นหล่นลงมาบนพื้นดิน จนงอกเป็นกล้าไม้จากบริเวณต้นแม่มาปลูกในเรือนเพาะชำ จนกล้าไม้อายุราวหนึ่งปีจะมีความแข็งแรงและเจริญเติบโตพอที่จะย้ายไปปลูกในแปลงได้

ถ้าปล่อยให้กล้าเจริญเติบโตอยู่ในแปลงเพาะนานเกินไป จะทำให้รากเกาะยึดติดดิน เมื่อถอนรากก็จะขาด เมื่อย้ายมาชำในถุงก็จะตั้งตัวช้า ในกรณีที่จำเป็นให้ใช้สารละลายดินดาน เช่น เอกริ-เอสซี, ฟูร่วนหรือซอยลีน ละลายน้ำแล้วรดที่แปลงเพาะกล้าจนเปียกชุ่มชื้น ดินจะคลายความแน่นลงทำให้ถอนต้นกล้าออกได้โดยรากขาดเพียงเล็กน้อยหรือไม่ขาดเลย

เมื่อย้ายมาชำในถุงแล้ว ควรจะวางไว้ในที่ร่มเงา เช่น บริเวณใต้ต้นไม้ หรือทำหลังคาพรางแสงด้วยสแลน ฟาง ทางมะพร้าวหรือใบไม้อย่างอื่น จนกระทั่งกล้าตั้งหลักในถุงได้ดีจึงย้ายที่ปลูก

เนื่องจากต้นกฤษณาตอบสนองต่อปัจจัยต่าง ๆ ได้ดีมาก เมื่อเติบโตขึ้น ต้นในถุงเดิมก็จะไม่พอต่อการเจริญเติบโตของราก เมื่อต้นกฤษณาในถุงเจริญไประยะหนึ่งและเริ่มเจริญช้าลงแสดงว่าถุงเล็กไปแล้ว ควรจะเปลี่ยนถุงและดิน เพราะกฤษณาจะเติบโตและใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วและราคาก็เพิ่มขึ้นได้อีกมาก สำหรับต้นที่ใหญ่ขึ้นมากแล้วควรย้ายไปปลูกในเข่งใหญ่ ๆ จะวางเข่งอยู่บนพื้นซีเมนต์หรือใช้ผ้าพลาสติกปูหลาย ๆ ชั้นก่อนวางเข่งก็ได้ เพื่อป้องกันรากลงไปยึดติดดินจะทำให้แฉะเวลาขนย้ายต้นไม้

การปลูก

เมื่อเตรียมกล้าไม้ได้ตามต้องการ ขั้นตอนต่อมาก็คือการเตรียมนำกล้าไปลงหลุมที่ขุดไว้เรียบร้อยแล้ว ควรขุดหลุมกว้างประมาณ 50-70 เซนติเมตร ความลึกเท่ากัน หลังจากนั้นก็เอาดินชั้นบนออกมากองไว้ข้าง ๆ ที่หนึ่ง เสร็จแล้วค่อยเอาดินชั้นล่างที่ขุดชึ้นมากองไว้ข้าง ๆ อีกทีหนึ่ง ตากดินทิ้งไว้ให้แห้งสัก 1-2 วัน

จากนั้นจึงเอาดินชั้นบนมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ปี๊บ หินฟอสเฟต 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อแก้กรดในดินและช่วยการเจริญเติบโตของราก ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นไม้เติบโตแข็งแรงดี พร้อมกับใส่โดโลไมท์ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ เพื่อปรับสภาพดินเสื่อมและช่วยทำให้ดินร่วนซุยมากขึ้น

เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วจึงเอาใส่ลงก้นหลุมประมาณครึ่งหลุม จากนั้นจึงนำกล้าไม้กฤษณาปลูกลงตรงกลางหลุม พร้อม ๆ กับเอาดินชั้นล่างผสมมูลสัตว์  ใบไม้  ใบหญ้า  เทถมใกล้ ๆ กล้าไม้  ควรถมให้สูงเกินกว่าระดับปากหลุมประมาณ 3-4  นิ้ว เผื่อไว้สำหรับดินยุบลงภายหลังเวลารดน้ำ จากนั้นอย่าลืมหาไม้เล็ก ๆ มาปักข้าง ๆ กล้าไม้แล้วเอาเชือกฟางมาผูกกล้าไม้ติดกลับหลักไม้เล็ก ๆ ที่ปักอยู่ ควรผูกช่วงกลางลำต้นเกือบถึงยอด ป้องกันลมพัดโยก เพราะจะทำให้รากไม้กระเทือน เจริญเติบโตช้า หลังจากนั้นก็หากาบมะพร้าว หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว หรือลำต้นกล้วยคลุมโคนต้นกล้าและรดน้ำให้ดินชุ่ม

เวลาที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนหรือช่วงก่อนฤดูฝน ถ้าจะปลูกช่วงเวลาอื่นจะต้องคำนึงเรื่องน้ำด้วยว่ามีเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่

ระยะการปลูก

การกำหนดระยะเวลาการปลูกของต้นกฤษณามีความแตกต่างกันไปหลายระยะตามความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูก แต่ระยะการปลูกที่นิยมกันทั่วไปของป่าราชการมักจะเป็นระยะห่าง 8x8 เมตร จะปลูกได้ประมาณ 25 ต้นต่อ 1 ไร่ เท่านั้น

ขณะที่สวนป่าเอกชนจะนิยมปลูกกันในระยะห่าง 4 x 4 เมตร ระยะปลูกขนาดนี้จะใช้กล้าไม้ประมาณ 100 ต้น ถ้าจะมีการวางหัวน้ำหยดก็จะประหยัดสายยางและหัวน้ำหยด หรือจะใช้ไมโครสปริงเกอร์ก็ได้

การปลูกระยะห่าง 4 x 4 เมตรนี้ ขณะที่ต้นยังไม่โตอาจจะมีปัญหาเรื่องหญ้าขึ้นมาก เพราะมีที่ระหว่างต้นกล้าทำให้หญ้าเข้าไปทำงาน ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องปลูกห่างขนาดนี้ เพราะการปลูกกฤษณาไม่ได้เน้นที่จะให้ได้รับแสงแดดมากเพื่อการสะสมอาหารสำหรับการออกดอก เนื่องจากเราต้องการลำต้นเป็นหลัก

......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน

......................................................................................

การปฏิบัติดูแลเบื้องต้น

ในระยะแรกผู้ปลูกควรปฏิบัติดูแลรักษาต้นกฤษณาดังนี้

  1. การให้น้ำ ในระยะแรก 2-3 เดือนแรกปลูกควรมีการรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอประมาณ 3 - 5 วันต่อครั้ง พออายุโตขึ้น 3-6 เดือน ค่อยลดเวลาให้น้ำลงเป็น  5-7 วันต่อครั้ง เว้นช่วงฝนตกควรงดการให้น้ำ ต้นกฤษณาที่มีอายุหนึ่งปีขึ้นไปควรรดน้ำ 7-15 วันต่อครั้ง ในช่วงฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำก็ได้เพราะปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว
  2. การใส่ปุ๋ย ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่มาก เพราะจะทำให้ไปเร่งลำต้น กิ่งใบมากเกินไป ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ อาจจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นครั้งคราว ในช่วงปีแรก ๆ ต้องเอาใส่ใจอนุบาลบ้างด้วยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกปีละ 1-2 ครั้ง
  3. การกำจัดวัชพืช ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาแปลงปลูกให้ปราศจากวัชพืชได้ ก็ต้องคอยดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นคลุมยอดต้นกฤษณาได้ ถ้ามีวัชพืชขึ้นคลุมยอดต้นกฤษณาต้องทำการถอนหญ้าที่ขึ้นรกออกมาเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในแปลงที่เป็นตอน ควรทำการเก็บวัชพืชอย่างน้อยปีละครั้งประมาณต้นฤดูหนาวหลังฝนหมดแล้ว
  4. การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การฉีกพ่นยาฆ่าแมลงสำหรับต้นกฤษณานี้ไม่มีความจำเป็นต้องทำ เพราะตามธรรมชาติต้นกฤษณาชอบให้มีแมลงมากัดเจาะลำต้นอยู่แล้ว เมื่อมีแมลงมากัดเจาะลำต้นก็จะทำให้ลำต้นมีรูเป็นโพรง  ลำต้นอาจจะฉีกขาด ฟกช้ำ ทำให้เกิดอาการเครียด กระบวนการรักษาแผลของลำต้นกฤษณาก็จะค่อย ๆ สะสมสารกฤษณาให้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งทำให้ต้นกฤษณามีคุณค่ามากตามไปด้วย

ขนาดและอายุของต้นที่ทำให้เกิดสารกฤษณา

การทำให้เกิดบาดแผลเพื่อสร้างสารกฤษณานั้น ควรคำนึงถึงขนาดของกิ่ง ก้าน หรือลำต้น มากกว่าอายุ เพราะอายุจะเท่าใดก็ตามแต่ถ้าทิ้งก้านหรือลำต้นมีขนาดเล็กมากก็จะไม่สะดวกที่จะทำให้เกิดบาดแผล เพราะการทำให้เกิดบาดแผลต้องทำโดยปราณีต กินเวลาและสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่าที่จะทำให้เกิดบาดแผลกับต้นกฤษณาที่ขนาดใหญ่

อย่างไรก็ดี เคยมีการทดลองทำให้เกิดบาดแผลที่ต้นกฤษณาอายุ 2 ปี พบว่าเมื่อเจาะลำต้นให้เกิดบาดแผล ก็สามารถสร้างสารกฤษณาในเนื้อไม้รอบ ๆ แผลได้ แต่ควรทำเมื่อต้นกฤษณามีอายุ 4-5 ปีขึ้นไป เพราะจะทำให้เกิดสารกฤษณาได้สะดวกและได้ผลดีกว่า

เมื่อต้นกฤษณาถูกทำให้เกิดมีสารกฤษณาขึ้นแล้ว จะมีอาการโทรมอย่างเห็นได้ชัดของส่วนบนเหนือรอยแผลขึ้นไป ซึ่งเป็นลักษณะของท่อน้ำและท่ออาหารที่ถูกขัดขวางการเคลื่อนตัวของน้ำและอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นส่วนบน สังเกตให้ดีจะเห็นเปลือกไม้บวม มีแผล ผิวของลำต้นจะผิดไปจากเดิม มีมดมาดมกลิ่นหอมที่ซึมออกมา ต้นกฤษณาก็จะสร้างกิ่งเป็นจำนวนมากใต้รอยแผล แล้วเจริญเติบโตขึ้นไปทดแทนส่วนบนเหนือรอยบาดแผลนั้น

วิธีทำให้เกิดบาดแผลและเจาะกระตุ้นสร้างสารกฤษณา ลำต้นกฤษณาที่พร้อมจะทำให้เกิดบาดแผล และเจาะกระตุ้นสร้างสารกฤษณาควรมีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ทั้งลำต้นและกิ่งควรมีความสมบูรณ์

ก่อนจะทำให้เกิดบาดแผล ควรเริ่มจากโคนต้นขึ้นมาสูงประมาณ 12 นิ้ว กว้าง 7 นิ้ว ขีดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้สิ่วถากเปลือกออกจะเห็นเนื้อไม้สีขาวนวลและมียางไม้ออกนิดหน่อยตามขนาดรูปสี่เหลี่ยมที่กำหนดขึ้น  จากนั้นนำสว่านเจาะรูประมาณ 6 รู ในจุดห่างกันพอดี ๆ โดยเจาะลึกประมาณ 3 นิ้ว ไม่ควรเจาะจนทะลุต้น แล้วนำสิ่วปากกว้างสกัดแต่งแผลให้ได้ขนาดร่องสิ่วลึกประมาณ 1 นิ้ว ขนาดเท่ากันทุกร่อง ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จะมีมดดำหรือตัวแมลงเข้ามาอยู่ในรูเป็นระยะ

เมื่อทำให้เกิดบาดแผลและเจาะกระตุ้นสารได้แผลหนึ่งแล้ว สามารถทำให้เกิดบาดแผลเพิ่มขึ้นได้อีกสัก 3-4 แผล รอบ ๆ  ลำต้น แต่ละแผลควรเว้นช่องห่างกันประมาณ 5 นิ้ว

เมื่อเกิดบาดแผล เกิดความช้ำหรือเกิดความเครียดขึ้นที่เนื้อไม้ด้วยการเจาะนี้ จะเกิดการหลั่งสารจำพวก ชัน หรือเรซิน เข้ามาสะสมที่เนื้อไม้รอบ ๆ บาดแผลที่เจาะนั้น สีของเนื้อไม้ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีขาวมาเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้ม สีดำ และสีดำพร้อมมีน้ำมันเยิ้มในที่สุด การจะมากขึ้นตามลำดับตามเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน อันเป็นกระบวนการรักษาบาดแผลตามธรรมชาติของต้นกฤษณา พอเวลาผ่านไปสัก 3 เดือน - 1 ปี เนื้อไม้กฤษณาที่ถูกทำให้เกิดบาดแผลและสร้างสารกฤษณาขึ้นมาได้ก็จะอยู่ในระดับที่ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ปากขวาน

หลังจากทำให้เกิดบาดแผลและกระตุ้นสร้างสารกฤษณาด้วยการเจาะแล้วประมาณ 1-3 เดือน จะเห็นความแตกต่างของเนื้อไม้ เนื้อไม้จะเริ่มมีสายน้ำมันเดินช้า ๆ ยิ่งเวลานานออกไปก็ยิ่งมีน้ำมันเพิ่มขึ้น

พอผ่านไป 3-5 เดือน ก็ถึงขั้นตอนที่จะสกัดเอาเนื้อไม้ออกมาใช้ประโยชน์ได้ ด้วยการนำสิ่วค่อย ๆ บากหรือถากเอาเนื้อไม้ออกมา ถ้าลองจุดไฟเผาดมดู จะได้กลิ่นของสารกฤษณาจากเนือไม้  เมื่อได้เนื้อไม้แล้วให้นำไปตากแดด สัก  1-2 แดด จากนั้นจึงนำไปบดให้ละเอียดแล้วนำไปแช่หมักไว้ สักระยะเวลาหนึ่ง จึงนำไปต้มกลั่นกับน้ำแล้วแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกมาขายได้ราคาที่ดีต่อไป แต่การจะขายได้ราคาหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อไม้ว่ามีคุณภาพเพียงใดด้วย

การกลั่นน้ำมันหอมกฤษณา

การต้มกลั่นไม้กฤษณา เพื่อเอาน้ำมันหอมมาใช้ประโยชน์ถือเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะน้ำมันหอมที่กลั่นออกมาได้คุณภาพดีก็จะขายได้ราคาดีอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว โดยเฉพาะการทำน้ำมันหอมส่งออกไปขายที่ต่างประเทศจะได้ราคาดีมากกว่าขายในเมืองไทย

การกลั่นน้ำมันหอมในขณะนี้อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ การกลั่นแบบโบราณและการกลั่นแบบทันสมัย

1. การกลั่นแบบโบราณ  เรียกว่า "การต้มกลั่น"  เพราะจะเอาไม้กฤษณามาต้มนานหลายวัน วิธีการต้มกลั่นแบบโบราณจะไม่คำนึงถึงสายพันธุ์ มักจะอาศัยความชำนาญเลือกเนื้อไม้กฤษณาที่หาได้จากในป่ามารวมกัน แล้วนำไปใส่ครกตำจนละเอียด หลังจากนั้นจะนำไม้กฤษณาที่ป่นแล้วหมักไว้ 15-30 วัน จากนั้นก็นำเข้าหม้อต้มกลั่นผสมน้ำทั่ว ๆ ไป ที่ชาวบ้านมักใช้ต้มกลั่นสารบางประเภท เช่น การต้มเหล้าเถื่อน

การต้มกลั่นนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 วันต่อ 1 หม้อ จะต้มกี่หม้อก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณไม้กฤษณาที่จะหาได้ จาการต้มกลั่นนี้เอง น้ำมันจากเนื้อไม้จะออกมาลอยบนผิวน้ำ เมื่อเห็นน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำก็ใช้ช้อนตักใส่ขวดได้

การต้มกลั่นแบบนี้มักได้น้ำหอมที่มีคุณภาพต่ำ กลิ่นน้ำมันไม่ดีมากนัก เพราะยังมีน้ำผสมอยู่ในเนื้อม้ำมัน นำไปขายได้ราคาไม่สูงนัก เพราะยังไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้านัก แต่ก็พอขายได้ เพราะจะมีพ่อค้าบางรายซื้อนำไปใช้ประโยชน์บางอย่างที่อาจไม่ต้องการน้ำมันคุณภาพดีนัก

2. การกลั่นแบบทันสมัย  กรรมวิธีการต้มกลั่นแบบทันสมัย ต้องเริ่มต้นจาการคัดสายพันธุ์ไม้กฤษณา จำแนกป่าแต่ละโซน ถ้าเป็นสายพันธุ์ที่มีการส่งเสริมการปลูกก็จะง่ายต่อการคัดเลือกไม้กฤษณาต้มกลั่น เพราะเราจะรู้ว่าไม้ที่จะนำมาต้มกลั่นสายพันธุ์อะไร แต่ถ้านำไม้มาจากป่ามาต้มกลั่นอาจจะจำแนกสายพันธุ์ไม่ค่อยได้ ต้องต้มกลั่นรวมกันไปทำให้ได้น้ำมันหอมคุณภาพไม่ดีนัก ไม้กฤษณาสายพันธุ์ดีคือ สายพันธุ์เขมร

สำหรับขั้นตอนการกลั่นแบบทันสมัย ให้นำเนื้อไม้มาคัดแยกเกรดให้ชัดเจน แยกเกรดเดียวกันไว้ต้มกลั่นด้วยกัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งสัก 2-3 แดดหรืออาจจะนำไปอบก็ได้ ถ้าใช้วิธีอบความชื้นจะหายไป 20-30 เปอร์เซนต์ ก่อนจะตากแดดหรืออบให้ชั่งน้ำหนักก่อน เมื่อตากแดดหรืออบแล้วก็ชั่งน้ำหนักอีกครั้ง จะเห็นได้ว่าน้ำหนักต่างกัน จากนั้นก็นำมาเข้าเครื่องบด บดให้ละเอียดพอบดเป็นผงแล้วให้ชั่งน้ำหนักอีกครั้งจะเห็นได้ว่าน้ำหนักไม้จะหายไปส่วนหนึ่ง เช่น ไม้กฤษณา 15 กิโลกรัม เมื่อนำไปตากแดดประมาณ 2 แดด น้ำหนักจะหายไป 3 กิโลกรัม และหากน้ำไม้กฤษณาที่เหลือ 12 กิโลกรัมนั้นมาบดอีกครั้งก็จะหายไป 1 กิโลกรัม สุดท้ายจะเหลือเนื้อไม้จริง ๆ ประมาณ 11 กิโลกรัม

เมื่อได้ไม้กฤษณาที่บดตามความต้องการเรียบร้อยแล้ว ให้นำไปหมักในน้ำสะอาดใช้เวลาประมาณ 2 วัน จากนั้นจึงนำไม้เข้าเครื่องต้มกลั่นแบบทันสมัย จะใช้เวลาต้มกลั่นเพียง 5 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำมันหอมคุณภาพดีตามค้องการ อย่างไรก็ตามน้ำมันหอมจะคุณภาพดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และคุณภาพไม้ที่นำมาต้มกลั่นด้วย

ไม้กฤษณา 15 กิโลกรัม เมื่อนำมาต้มกลั่นแล้วจะได้น้ำมัน 2 โตร่า จะมีน้ำหนักประมาณ 12 กรัม (โตร่าเป็นชื่อเรียกหน่วยวัดที่นิยมใช้ในการซื้อขายน้ำมันหอมกฤษณา) 1 โตร่า เท่ากับ 12.5 ซีซี  น้ำหอม 1 โตร่าขายในประเทศได้ 3,500-4,000 บาท แต่ถ้านำออกไปขายต่างประเทศจะขายได้ราคา 3 เท่าของราคาในประเทศ

ผู้สนใจปลูกไม้กฤษณา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้มี่ ชมรมสมาชิกผู้ปลูกไม้กฤษณา (ภาคเหนือ) 053-274845

หลักเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมปลูกไม้กฤษณา
(ตามระเบียบของทางราชการที่วางไว้และให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ป่าไม้)

1. ประเภทที่ดินที่รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกสวนป่าไม้เศรษฐกิจ
ดังต่อไปนี้

  1. ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน  หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือทีดินที่มีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หรือใบจอง (น.ส. 2, น.ส. 2 ก) ที่มีหนังสือรับรองทางราชการว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในระหว่างการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
  2. ที่ดินที่ได้รับพระราชกฤษฎีกาการกำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินที่มีหลักฐานหนังสือรับรองที่ (ส.ห.ก.4.28 ก)  หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01.) หรือหลักฐานการเช่าหรือการเช่าชื้อที่ดินจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือหนังสือรับรองของทางราชการว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
  3. ที่ดินเขตนิคมสหกรณ์ที่มีหลักฐานหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ก.ส.น.3) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน (ก.ส.น.5) หรือที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองที่มีหลักฐานหนังสืออนุญาตในที่ดิน (น.ค. 1) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.3)
  4. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่ดินในเขตป่าสงวนตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้มีส่วนราชการหรือองค์การของรัฐได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ เพื่อจัดสรรให้ราษฎรอยู่อาศัยหรือทำกิน โดยมีหนังสืออนุญาตของทางราชการของรัฐนั้นให้ในการปลูกสวนป่า
  5. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ที่มีหลักฐานหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัย หรือปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) หรือหนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินซึ่งกรมป่าไม้จัดที่ทำกินให้ราษฎร ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
  6. ที่ดินราชพัสดุ หรือที่หน่วยราชการหรือองค์กรของรัฐบาลให้ราษฎรอยู่อาศัยหรือทำกิน โดยมีหนังสือรับรองของหน่วยงานราชการหรือองค์กรของรัฐดังกล่าวให้ใช้ในการปลูกสร้างสวนป่าได้
  7. ที่ดินที่มีสัญญาเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยหนังสืออนุญาตจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้ใช้การปลุกสร้างสวนป่าได้

2. คุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้

  1. เป็นเจ้าของที่ดิน หรือมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย
  2. เป็นผู้เช่าชื้อหรือผู้เช่าที่ดินที่เป็นโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีหลักฐานเช่าหรือเช่าชื้อที่ดินพร้อมทำหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าได้ ในกรณีเป็นสัญญาเช่าที่ดินต้องมีอายุการเช่าไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าร่วมโครงการ และต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
  3. ต้องมีสัญชาติไทย
  4. ไม่เคยได้รับการสนับสนุนการปลูกสร้างสวนป่าตามโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าหรือโครงการอื่นใดในที่ดินนั้นมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างรับเงินสนับสนุนการปลูกสร้างสวนป่าตามโครงการดังกล่าว

3. หลักเกณฑ์ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ  มีดังนี้

  1. ต้องมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ 2 ไร่ขึ้นไป แต่รวมแล้วไม่เกิน 200 ไร่ต่อราย
  2. ต้องปลุกสร้างไม้เศรษฐกิจโดยใช้ชนิดพันธุ์ไม้ ตามบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้ที่อธบดีกรมป่าไม้กำหนด
  3. ต้องปลูกชนิดพันธุ์ไม้ที่ให้การส่งเสริมไม้น้อยกว่า 100 ต้นต่อไร่ ให้กระจายทั่วพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ที่กรมป่าไม้กำหนด

4. หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน
การจ่ายเงินทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ไร่ละ 3,000 บาท แบ่งจ่าย 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  1. ปีที่ 1  จ่ายไร่ละ 800 บาท เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่ได้ดำเนินการปลูกแผ้วถางหรือกำจัดวัชพืช และพรวนดินเป็นที่เรียบร้อย
  2. ปีที่ 2  จ่ายไร่ละ 700 บาท เมื่อดำเนินการแผ้วถางหรือกำจัดวัชพืชปลูกซ่อมพรวนดิน และทำแนวกันไฟเป็นที่เรียบร้อย
  3. ปีที่ 3  จ่ายไร่ละ 600 บาท เมื่อดำเนินการแผ้วถางหรือกำจัดวัชพืชปลูกซ่อม และทำแนวกันไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  4. ปีที่ 5  จ่ายไร่ละ 400 บาท เมื่อดำเนินการแผ้วถางหรือกำจัดวัชพืชและทำแนวกันไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การจ่ายเงินตามข้อ 1, 2, 3, 4 และ 5 ต้องปรากฏว่ามีต้นไม้ไม่น้อยกว่าไร่ละ 100 ต้นกระจายทั่วพื้นที่ และต้องบำรุงดูและรักษาอย่างต่อเนื่องให้ต้นไม้มีความเจริญเติบโต

การที่จะได้รับเงินสนับสนุน ต้องปลูกไม้กฤษณาล้วน ๆ ชนิดเดียวให้กระจายทั่วพื้นที่ หรือปลูกผสมไม้เศรษฐกิจอื่น ๆ ตามบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้ที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดกระจายทั่วพื้นที่ เช่น สัก กระถินณรงค์ ยมหอม ยมหิน ขิงชัน แดง ตะเคียนทอง ยางพารา ยูคาลิปตัส ถ้าปลุกผสมไม้ผลเช่น  ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ ขนุน ทุเรียน และอื่น ๆ จะไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุน

ผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อนายอำเภอท้องที่ที่ดินตั้งอยู่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิครอบครอง หรือหลักฐานการมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดิน
  • หลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน และหนังสือยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้เข้าทำสวนป่าได้ในกรณีที่มีการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน
  • แผนที่สังเขปที่ตั้งเขตติดต่อและแนวเขตที่ขอขึ้นทะเบียน

ผู้ที่สนใจสามารถขอรายละเอียดได้จากกรมป่าไม้ได้ตลอดเวลา

เรียบเรียงบทความ "กฤษณา พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทยกฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
กฤษณา ไม้เศรษฐกิจและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย

 

 

 

Custom Search

 

 




มหัศจรรย์สมุนไพรกลิ่นหอมธรรมชาติ <ดูทั้งหมด>

พลังแห่งกลิ่นหอม "กำยาน" ความหอมอมตะ article
ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
พันธุ์ไม้สร้างและสะสมน้ำมันหอมระเหยของไทย article
พลังแห่งกลิ่นหอม สร้างพลังชีวิต article
มะลิ พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article
ตะไคร์หอม พืชสมุนไพรไทยและน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย article



Copyright © www.YesSpaThailand.com 2010 All Rights Reserved.

พื้นที่โฆษณา -ลิงก์ผู้สนับสนุน (Advertisement)

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน